คลิป หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


Source

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชาติกาเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว

ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถํ้า เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่นํ้าโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถํ้าสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถํ้าไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถํ้าสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนาแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ ๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย ๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต ๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด ๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้ ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่” ดังนี้ เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า “เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย” ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า.. การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง...... นี้แล คือ ตำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์ ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวซึ่งธรรมขันธ์ โดยสังเขปตามสติปัญญา ยังมีท่านคนหนึ่ง รักตัว คิดกลัวทุกข์ อยากได้สุข พ้นภัย เที่ยวผายผัน เขาบอกว่า สุขมีที่ไหน ก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมา อยู่ช้านาน

นิสัยท่านนั้น รักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่ง ท่านรู้จริงซึ่ง สมุทัย พวกสังขาร ท่านก็ปะถํ้า สนุก สุขไม่หาย เปรียบเหมือนดัง กายนี้เอง ชะโงกดูถํ้าสนุก ทุกข์คลาย แสนสบาย รู้ตัว เรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไป เมินมา อยู่หน้าเขา จะกลับไป ป่าวร้อง พวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมา ว่าเป็นบ้า เป็นอันจบเรื่องคิด ไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่าม ทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอ ถูกติ เป็นเรื่อง เครื่องรำคาญ ยังมี บุรุษ คนหนึ่ง คิดกลัวตาย นํ้าใจฝ่อ มาหาแล้ว พูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่า ท่านพากเพียรมา ก็ช้านาน เห็นธรรมที่จริง แล้วหรือยัง ที่ใจหวัง เอ๊ะ ทำไม จึงรู้ใจฉัน บุรุษผู้นั้น ก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ดีฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ ถํ้าสนุก ทุกข์ไม่มี คือ กายคตา สติ ภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจ หายเดือดร้อน หนทางจร อริยวงศ์ จะไป หรือไม่ไป ฉันไม่เกณฑ์ ไม่หลอกเล่น บอกความ ให้ตามจริง แล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ ปริศนานั้นว่า ระวิ่ง คืออะไร ตอบว่า วิ่งเร็ว คือ วิญญาณ อาการใจ เดินเป็นแถว ตามแนวกัน สัญญาตรง น่าสงสัย ใจอยู่ใน วิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอก หลอกลวงจิต ทำให้จิตวุ่นวาย เที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่า ห้าขันธ์ ใครพ้น จนทั้วปวง แก้ว่า ใจซิพ้น อยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติด สิ้นพิศวง หมดที่หลง อยู่เดียวดวง สัญญาทะลวงไม่ได้ หมายหลงตามไป ถามว่าที่ตาย ใครเขาตาย ที่ไหนกัน แก้ว่า สังขารเขาตาย ทำลายผล ถามว่า สิ่งใดก่อ ให้ต่อวน แก้วว่ากลสัญญา พาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิด คิดยินดี ออกจากภพนี้ ไปภพนั้น เที่ยวหันเหียน เลยลืมจิต จำปิด สนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรม ก็ไม่เห็น ถามว่า ใครกำหนด ใครหมาย เป็นธรรม แก้ว่า ใจกำหนด ใจหมาย เรื่องหา เจ้าสัญญา นั่นเอง คือว่าดี ว่าชั่ว ผลักจิต ติดรักชัง ถามว่า กินหนเดียว เที่ยวไม่กิน แก้ว่า สิ้นอยากดู ไม่รู้หวัง ในเรื่องเห็นต่อไป หายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่ง ทิ้งอาลัย

ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยนํ้า แก้ว่า ธรรมสิ้นอยาก จากสงสัย ใสสะอาดหมดราคี ไม่มีภัย สัญญาในนั้น พรากสังขารขันธ์นั้น ไม่ถอน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ ไม่มีพร่อง เงียบสงัด ดวงจิต ไม่คิดปอง เป็นของควรชมชื่น ทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์ สักสิบแสน หากแม้นรู้จริง ทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่ง สิ่งสำคัญ จำส่วนจำ กั้นอยู่ ไม่กํ้าเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้น หายดิ้นรน เหมือนอย่างว่า กระจกส่องหน้า ส่องแล้ว อย่าคิด ติดปัญญา เพราะว่า สัญญานั้น ดังเงา อย่าได้เมา ไปตามเรื่อง เครื่องสังขาร ใจขยัน จับใจ ที่ไม่บ่น ไหวส่วนตน รู้แน่ เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยวของใจ ใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้า ต่างชนิด เมื่อจิตไหว แต่ก่อนนั้น หลงสัญญา ว่าเป็นใจ สำคัญว่าใน ว่านอก จึงหลอกลวง คราวนี้ ใจเป็นใหญ่ ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่ง สัญญาใด มิได้หวัง เกิดก็ตาม ดับก็ตาม สิ่งทั้งปวง ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกันหมู่สัญญา เหมือนยืนบน ยอดเขาสูงแท้ แลเห็นดิน แลเห็นสิ้น ทุกตัวสัตว์ แต่ว่า สูงยิ่งนัก แลเห็นเรื่องของตน แต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้น เช่นบันได ถามว่า นํ้าขึ้นลง ตรงสัจจา นั้นหรือ? ตอบว่าสังขารแปร ก็ไม่ได้ ธรรมดากรรม แต่ไม่แกล้งใคร ขืนผลักไส จับต้อง ก็หมองมัว ชั่วในจิต ไม่ต้องคิด ผิดธรรมดา สภาพสิ่ง เป็นจริง ดีชั่ว ตามแต่ เรื่องของเรื่อง เปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขาร เป็นการเย็น รู้จักจริง ต้องทิ้งสังขาร เมื่อผันแปร เมื่อแลเห็น เบื่อแล้ว ปล่อยได้คล่อง ไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็ใจ เย็นใจ ระงับดับสังขาร รับอาการ ถามว่า ห้าหน้าที่ มีครบครัน แก้ว่า ขันธ์ แย่งแยก แจกห้าฐาน เรื่องสังขาร ต่างกอง รับหน้าที่ มีกิจการ จะรับงานอื่น ไม่ได้ เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญ เจริญสุข นินทาทุกข์ เสื่อมยศ หมดลาภทั่ว รวมลง ตามสภาพ ตามเป็นจริง ทั้ง ๘ สิ่ง ใจไม่หัน ไปพัวพัน เพราะว่า รูปขันธ์ ก็ทำแก้ไข มิได้ถ้วน นาม ก็มิได้พัก เหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรม ที่ทำมา เรื่องดี ถ้าเพลิดเพลิน เจริญใจ เรื่องชั่วขุ่น วุ่นจิต คิดไม่หยุด เหมือนไฟจุด จิตหมอง ไม่ผ่องใส นึกขึ้นเอง ทั้งรัก ทั้งโกรธ ไม่โทษใคร อยากไม่แก่ ไม่ตาย ได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัย จะได้เชย เช่น ไม่อยากให้จิต เที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่ง หวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปร ไม่แน่เลย สัญญาเคย อยู่ได้บ้าง เป็นครั้งคราว ถ้ารู้เท่า ธรรมดา ทั้งห้าขันธ์ ใจนั้น ก็ขาวสะอาด หมดมลทิล สิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้ อย่างนี้ จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริง ถอนหลุด สุดวิธี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดา ตามเป็นจริง จะจน จะมี ตามเรื่อง เครื่องนอกใน ดีหรือชั่ว ต้องดับ เลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ ตามใจหมาย ในไม่เที่ยว ของใจ ไหววะวับ สังเกตจับ รู้ได้สบาย

ยิ่งเล็กบังใหญ่ ไม่รู้ทัน ขันธ์บังธรรมไม่เห็น เป็นธุลีไป ส่วนธรรม มีใหญ่กว่าขันธ์ นั้นไม่แล ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีนี้ คืออะไร? ที่นี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัด ทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับ ไม่มีชัด ใช่สัตว์คน นี่ข้อต้น มีไม่มี อย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มี มีนี้ เป็นธรรม ที่ลํ้าลึก ใครพบ จบประสงค์ ไม่มีสังสาร มีธรรม ที่มั่นคง นั่นแลองค์ธรรมเอก วิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่ง ไม่แปรผัน เลิศพบ สงบนิ่ง เป็นอารมณ์ของใน ไม่ไหวติง ระงับยิ่ง เงียบสงัด ชัดกับใจ ใจก็สร่าง จากเมา หายเร่าร้อน ความอยาก ถอนได้หมด ปลดสงสัย เรื่องพัวพัน ขันธ์ห้า ช้าสิ้นไป เครื่องหมุนไป ไตรจักร ก็หักลง ความอยาก ใหญ่ยิ่ง ก็ทิ้งหลุด ความรักหยุด หายสนิท สิ้นพิศวง ร้อนทั้งปวง ก็หายหมด ดังใจ จง เชิญเถิด ชี้อีกสักอย่าง หนทางใจ สมุทัยของจิต ที่ปิดธรรม แก้ว่า สมุทัย ยิ่งใหญ่นัก ย่อลงคือ ความรักบีบใจ ทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิต เป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิศกัน สมุทัย มิได้มี จงจำไว้อย่างนี้ วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวน จนป่นปี้ ธรรมไม่มี อยู่เป็นนิจ ติดยินดี ใจจากที่ สมุทัย อาลัยตัว ว่าอย่างย่อ ทุกข์กับธรรม ประจำจิต จิตคิด รู้เห็นจริง จึงเย็นทั่ว จะสุข ทุกข์เท่าไร มิได้กลัว สร่างจากเครื่องมัว คือสมุทัย ไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลาย หายความร้อน พอดักผ่อน สืบแสวงหา ทางดี จิตรู้ธรรม ลืมจิต ที่ติดธุลี ใจรู้ธรรม ที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์ แน่ประจำใจ ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์ เท่านั้นแล คำว่าเย็นสบาย หายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิด ที่ติดแก้ ส่วนสังขารขันธ์ ปราศจากสุข เป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ ไข้ตาย ไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ลํ้าเลิศ จิตก็ถอน จากผิด เครื่องเศร้าหมอง ของแสลง ผิดเป็นโทษของใจ อย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้ง ธรรมผิด หมดพิษใจ จิตเห็นธรรม ดีเลิศที่พ้น พบปะธรรม ปลดเปลื้อง เครื่องกระสัน มีสติกับตัว บ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้น ขาดยินดี สิ้นธุลีทั้งปวง หมดห่วงใย ถึงจะคิด ก็ไม่ทันห้าม ตามนิสัย เมื่อไม่ห้าม กลับไม่ฟุ้ง ยุ่งไป พึงได้รู้ ว่าบาปมีขึ้น เพราะขืนจริง ตอบว่า บาปเกิดขึ้น เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตู เขลาได้ สบายยิ่ง ชั่วทั่งปวง เงียบหาย ไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่ง ย่อมทุกข์ ไม่สุขเลย แต่ก่อน ข้าพเจ้ามืดเขลา เหมือนเข้าถํ้า อยากเห็นธรรม ยึดใจ จะให้เฉย ยึดความจำ ว่าเป็นใจ หมายจนเคย เลยเพลินเชยชม จำธรรม มานาน ความจำผิด ปิดไว้ ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่น ขันธ์ ๕ น่าสงสาร ให้ยกตัว ออกตน พ้นประมาณ เที่ยวระราน ติคนอื่น เป็นพื้นใจ ไม่ได้ผล เที่ยวดู โทษคนอื่น ขื่นใจ เหมือนก่อไฟ เผาตัว ต้องมัวมอม ใครผิดถูก ดีชั่ว ก็ตัวเขา ใจของเรา เพียงระวัง ตั้งถนอม อย่าให้อกุศล วนมาตอม ควรถึงพร้อม บุญกุศล ผลสบาย เห็นคนอื่นเขาชั่ว ตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ ที่มั่นหมาย

ยึดขันธ์ ต้องร้อนแท้ ก็แก่ตาย เลยซํ้าแท้ กิเลสเข้ากลุ้ม รุมกวน เต็มทั้งรัก ทั้งโกรธ โทษประจักษ์ ทั้งหลงนัก หนักจิต คิดโทษหวน ทั้งอารมณ์ การห้า ก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่าง ต่างๆ กัน เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้น ทุกข์ร้าย ไปได้เลย ถ้ารู้โทษของตัวแล้ว อย่าช้าเฉย ดูอาการ สังขาร ที่ไม่เที่ยงรํ่าไป ให้ใจเคย คงได้เชยชมธรรมอันเอก วิเวกจิต ไม่เพียงนั้น หมายใจไหว จากจำ เห็นแล้วขำ ดู ดูอยู่ ไหว อารมณ์นอก ดับระงับไปหมด ปรากฏธรรม เห็นธรรมแล้ว ย่อมหาย วุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้ อย่างนี้ วิธีจิต รู้เท่าที่ ไม่เที่ยง จิตต้นฟื้น ริเริ่ม คงจิตเดิม อย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิต พ้นจาก ผิดทั้งปวง ไม่ห่วง ถ้าออกไป ปลายจิต ผิดทันที คำที่ว่า มืดนั้น เพราะจิต คิดหวงดี จิตหวงนี้ ปลายจิต คิดออกไป จิตต้นที่ เมื่อธรรมะปรากฏ หมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิด เลิศโลกา เรื่องจิตค้น วุ่นหามา แต่ก่อน ก็เลิกถอน เปลื้องปลด หมดได้ ไปสิ้น ยังมีทุกข์ ต้องหลับนอน กับกิน ไปตามเรื่อง ธรรมดาของจิต ต้องคิดนึก พอรู้สึก จิตคุ้น พ้นรำคาญ เงียบสงัด จากมาร เครื่องรบกวน ธรรมดา สังขารปรากฏ หมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้น คงไม่มีเลย ระวังใจ เมื่อจำ ทำละเอียด มันจะเบียด ให้จิต ไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของใจ ซํ้าให้เคย เมื่อถึงเฮย หากรู้เอง เพลงของจิต เหมือนดั่งมายา ที่หลอกลวง ท่านว่า วิปัสสนูกิเลส จำแลงเพศ เหมือนดังจริง ที่แท้ ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเอง นามว่า ความเห็น ไม่ใช่เข่น ฟังเข้าใจ ชั้นไต่ถาม ทั้งไตร่ตรอง แยกแยะ และ รูปนาม ก็ใช่ ความเห็นต้อง จงเล็งดู จิตตน พ้นรำคาญ ต้นจิต รู้ตัว ว่าสังขาร เรื่องแปรปรวน ใช่ขบวนไป ดู หรือ รู้จริง อะไรรู้อยู่ เพราะหมายคู่ ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเอง เพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ไหวก็จิต คิดกันไป แยกไม่ได้ตามจริง สิ่งเดียวกัน จิตเป็นของอาการ เรียกว่า สัญญา พาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้น ก็ตัวเอง ไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรส หมดสงสัย ขาดต้นคว้า หาเรื่อง เครื่องนอกใน เรื่องจิตอยาก ก็หยุด ให้หายหิว พ้นหนักใจทั้งหลาย หายอิดโรย เหมือนฝนโปรย ใจก็เย็น ด้วยเห็นใจ ใจเย็นเพราะ ไม่ต้อง เที่ยวมองคน รู้จิต คิดปัจจุบัน พ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่ว ทั้งปวง ไม่ห่วงใย เพราะดับไปทั้งเรื่อง เครื่องรุงรัง อยู่เงียบๆ ต้นจิต ไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิต สิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่น ไม่ต้องวาย หายระวัง นอนหรือนั่ง นึกพ้น อยู่ต้นจิต ท่านชี้มรรค ทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้ม กว้งขวาง สว่างใส ยังอีกอย่าง ทางใจ ไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรด ให้ชี้พิศดาร เป็นการดี ตอบว่าสมุทัย คืออาลัยรัก เพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างตํ่า กามคุณห้า เป็นราคี อย่างสูงชี้ สมุทัย อาลัยฌาน ถ้าจะจับ ตามวิธี มีในจิต ก็เรื่องคิด เพลินไป ในสังขาร เคยทั้งปวง เพลินมา เสียช้านาน กลับเป็นการดีไป ให้เจริญจิต

ไปในส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้าน ฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไป ในผิด ไม่คิดเขิน สิ่งใดชอบอารมณ์ ก็ชมเพลิน เพลินจนเกิน ลืมตัว ไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่น ดื่นด้วยชั่ว โทษของตัว ไม่เห็น เป็นไฉน โทษคนอื่น เขามาก สักเท่าไร ไม่ทำให้เรา ตกนรก เสียเลย โทษของเรา เศร้าหมอง ไม่ต้องมาก ลงวิบาก ไปตกนรก แสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไว้ ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชิญชมสุข พ้นทุกข์ภัย เมื่อเห็นโทษตนชัด พึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่ง คิดมาก จากไม่ได้ เรื่องอยากดี ไม่หยุด คือ สมุทัย เป็นโทษใหญ่ กลัวจะไม่ดี นี้ก็แรง ดีไม่ดี นี้เป็นผิด ของจิตนัก เหมือนไข้หนัก ถูกต้อง ของแสลง กำเริบโรค ด้วยพิษ ผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้ง เพราะอยากดี นี้เป็นเดิม ความอยากดี มีมาก มักลากจิต ให้เที่ยวคิด วุ่นไป จนใจเหิม สรรพชั่ว มัวหมอง ก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่ม รํ่าไป ไกลจากธรรม ที่จริงชี้ สมุทัย นี้ ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้ง ทางยุ่งยิ่ง เมื่อชี้มรรค ฟังใจ ไม่ไหวติง ระงับนิ่ง ใจสงบ จบกันที อันนี้ เชื่อว่า ขันธะวิมุติสมังคีธรรม ประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา สภาวธรรมที่เป็นจริง สิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่อง จะแวะะเวียน สิ้นเนื้อความ แต่เพียงเท่านี้ ผิดหรือถูก จงใช้ปัญญาตรองดู ให้รู้เถิด พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง

ปัจฉิมบท ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่น มาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้างครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึง ปีสุดท้ายของชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมากได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์ เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้ว ให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”ครั้นมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเรื่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษาและศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่ วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนครโดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัด เวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลายมีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่ ประมวลในหลัก ๒ ประการ ดังนี้ ๑.ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุกๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอีสานเกือบทั่วทุกจังหวัดไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศีลธรรมดีมีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย ๒.ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริงๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระศึกษา และปฏิบัติธรรมวินัย ด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริงๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญสมณธรรม ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญ ได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัยได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และ พระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจ ตามหลักการสมถวิปัสสนาอันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ตรัสสอนไว้ว่า เป็นผู้มีนํ้าใจเด็ดเดี่ยว อดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตามคงมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ทำตนให้เป็นทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด ของภาคอีสาน และแถบบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้วท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้นๆ ด้วยผู้ได้รับสงเคราะห์ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภุมิใจว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็น

มนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้า ในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่และได้รับตั้งเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของ เจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์)ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้นโดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่า ท่านได้ทำเต็มสติกำลังยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติตลอดมานับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษษที่ ๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอาจกล่าวได้ ด้วยความภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุด ในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน

================================================
ระลึกชาติ  อดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และเรื่องราวของคนต่าง ๆ ที่ระลึกชาติได้


เรื่องการระลึกชาติได้ เป็นเรื่องธรรมดาทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครมหาสาวก พระมหาสาวก พระสาวก พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ตลอดจนปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถระลึกชาติได้ ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทางจิต ด้วยการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือบริกรรมภาวนาแบบใด ๆ ก็ตาม ไม่จำกัดด้วยว่าจะนับถือศาสนาอะไร สามารถระลึกชาติได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่บางท่านไม่ต้องฝึกอะไร พอเกิดมาก็ระลึกชาติได้แล้วก็มี อย่างที่เราได้ยินข่าวจากสื่อต่าง ๆ ซึ่งบุคคลที่ระลึกชาิิติได้ ไม่ได้มีเฉพาะชาวพุทธเท่านั้น ยังมีชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ก็สามารถระลึกชาติได้ แต่คนทั่วไป มักจะระลึกได้เพียงชาติหรือสองชาติเท่านั้น ไม่สามารถจะระลึกชาติได้อย่างนับไม่ถ้วนเป็นอเนกชาติ เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณแห่งการระลึกชาติมากกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งกระผมจะได้นำเรื่องราวมาให้ท่านได้อ่านต่อไป

เรื่องการระลึกชาติได้ เป็นเรื่องธรรมดาทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครมหาสาวก พระมหาสาวก พระสาวก พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ตลอดจนปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถระลึกชาติได้ ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทางจิต ด้วยการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือบริกรรมภาวนาแบบใด ๆ ก็ตาม ไม่จำกัดด้วยว่าจะนับถือศาสนาอะไร สามารถระลึกชาติได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่บางท่านไม่ต้องฝึกอะไร พอเกิดมาก็ระลึกชาติได้แล้วก็มี อย่างที่เราได้ยินข่าวจากสื่อต่าง ๆ ซึ่งบุคคลที่ระลึกชาิิติได้ ไม่ได้มีเฉพาะชาวพุทธเท่านั้น ยังมีชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ก็สามารถระลึกชาติได้ แต่คนทั่วไป มักจะระลึกได้เพียงชาติหรือสองชาติเท่านั้น ไม่สามารถจะระลึกชาติได้อย่างนับไม่ถ้วนเป็นอเนกชาติ เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณแห่งการระลึกชาติมากกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งกระผมจะได้นำเรื่องราวมาให้ท่านได้อ่านต่อไป

ได้มีผู้เคยสัมภารณ์ผู้ระสึกชาติได้มาหลายรายและได้นำคำสัมภาษณ์นั้นๆมาเขียนหลายเรื่องแล้ว แต่ไม่มีเรื่องใดดูจะอัศจรรย์ดังเรื่องของผู้ระลึกชาติได้เท่าท่านนี้เลย ทั้งนี้เพราะท่านเป็นพระเถระ ที่ใช้ชีวิตสมณเพศทั้งหมดอยู่กับการปฏิบัติ จนบางครั้งแทบจะเอาชีวิตไปทิ้งกลางป่ากลางดง และเนื่องจากผลของการปฏิบัติธรรม จึงทำให้ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังไปได้อีกหลายสิบชาติ


ท่านผู้นี้คือ พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งเป็นศิษย์เอกที่เลิศในทางอภิญญาของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะบูรพาจารย์ของพระเถระทั้งหลายในปัจจุบัน

แต่ก่อนที่จะเล่าสู่กันฟัง จำเป็นจะต้องเรียนท่านผู้อ่านทั้งหลายให้ทราบเสียก่อนว่า เรื่องของ หลวงปู่ชอบ ระลึกชาติตอนนี้ ผู้เขียนได้รับอนุญาตจาก คุณสุรีพันธุ์ มณีวัต ศิษย์ของท่านผู้บันทึกชีวประวัติของหลวงปู่เรียบร้อยแล้ว จึงขอขอบพระคุณคุณสุรีพันธุ์ มาณ โอกาสนี้

ในเรื่อง บุพเพนิวาสานุสติญาณ หรือ ญาณระลึกชาติได้นั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหลวงปู่จะมีหรือไม่ สมเด็จพระพุทธองคืได้ญาณนี้เมื่อคืนวันตรัสรู้ในเวลาปฐมยามซึ่งเป็นญาณลำบแรกที่ทรงบรรลุ ทราบทราบระลึกชาติหนหลังได้ ทั้งของพระองค์เองและสัตว์โลกอื่นๆ ตั้งแต่ชาติหนึ่งจนถึงเอนกชาติหาประมาณมิได้....

พระพุทธองค์ไม่แต่จะเคยเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มนุษย์ ที่เป็นทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น หากท่านเคยเป็นคนยากจนเข็ญใจ ก็มีอยู่หลายชาติ ทั้งเคยเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้การตกนรกหมกไหม้ก็เคยผ่านขุมนรกต่างๆ มาแล้วเช่นกัน ทำให้พระพุทธองค์ทรงเบื่อหน่ายในชาติกำเนิด การเวียนว่ายตายเกิดเป็นอย่างยิ่ง การจุติแปรผัน ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ของสัตว์โลกไม่มีที่สิ้นสุด

ญาณนี้เองเป็นเบื้องต้น เป็นบันไดขั้นแรกในคืนวันเพ็ญเดือนหก เมื่อสองพันห้าร้อยสามสิบพรรษาเศษที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้พระองค์ไปสู่การตรัสรู้ คือ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในกาลต่อมา

สำหรับญาณการระลึกรู้อดีตชาตินี้ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เคยขอโอกาสกราบเรียนถราบหลวงปู่ ซึ่งท่านก็ยอมเล่าให้ฟังบ้างเป็นสังเขป

หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้ระลึกชาติได้มากมายอะไร ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงระลึกได้เป็นเอนกชาติหาประมาณมิได้นั้น เป็นเพราะพระพุทธองค์ทรงมหาสติ มหาปัญญา มหาบารมีอย่างหาผู้ใดเทียบมิได้

สำหรับหลวงปู่นี้ เท่าที่ระลึกชาติได้ ท่านไม่เคยเป็นกษัตริย์มักจะเป็นคนตกทุกข์ได้ยากเสียมากกว่า

เคยเป็นพ่อค้าขายผ้าชาติลาว ออกเดินทางมากับ พ่อเชียงหมุน(อุปัฏฐากคนหนึ่งในชาตินี้) ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย มาทานผ้าขาวหนึ่งวาและเงิน 50 สตางค์ บูชาถวายพระธาตุพนมพร้อมทั้งอธิษฐานขอให้ได้บวชได้พ้นทุกข์ ท่านเล่าว่าท่านเคยมาช่วยสร้างพระธาตุพนมด้วยสมัยพระมหากัสสปะเถระเจ้า พระธาตุพนมนี้สร้างก่อนพระปฐมเจดีย์

ท่านเคยเป็นคนยางอยู่ในป่า เคยเกิดเป็นทหารพม่ามารบกับไทย แต่ยังไม่ทันฆ่าคนไทย ก็ตายเสียก่อน เคยเกิดอยู่เมืองปัน พม่า ชาตินี้ท่านก็ได้กลับไปดูบ้านเกิดในชาติก่อนที่เมืองปันด้วย

เคยเป็นทหารไปหลบภัยที่ถ้ำกระ เชียงใหม่ และได้ตายเพราะอดข้าวที่นั่น

หลวงปู่ เคยเป็นพระภิกษุ รักษาศิลอยู่กับพระอนุรุทธ เคยเป็นสามเณรน้อย ลูกศิษย์พระมหากัสสปะ

สำหรับการเกิดเป็นสัตว์ นั้น หลวงปู่เล่าว่า ท่านผ่านพ้นมาอย่างทุกข์ยากแสนเข็ญ เช่นเคยเกิดเป็นผีเสื้อแล้วถูกค้างคาวไล่จับเอาไปกินที่ถ้ำผาดิน เคยเกิดเป็นฟาน หรือเก้ง ไปแอบกินมะกอก กินยังไม่ทันอิ่มสมอยาก ก็ถูกมนุษย์ไล่ยิง เขายิงที่โคกมนถูกที่ขา วิ่งหนีกระเซอะกระเซิงไปตายที่บ้านม่วง

เมื่อครั้งเกิดเป็นหมีไปกินแตงช้าง (แตงร้าน) ของชาวบ้านถูกเจ้าของเขาเอามีดไล่ฟันถูกหัวถูกหู เคราะห์ดีไม่ถึงตาย แต่ก็บาดเจ็บมาก ต้องทนทุกข์ไปจนกระทั่งหายไปเอง

เคยเกิดเป็นไก่ มีความรักผูกพันรักชอบนางแม่ไก่สาว จึงอธิษฐานให้ได้พบกันอีก ทำให้กลับมาเกิดเป็นไก่ซ้ำถึง 7 ชาติ

เคยเกิดเป็นปลา ซึ่งอยู่ในสระ (ปัจจุบันอยู่ที่สวนหลังบ้านของ พล.อ.อ.พโยม เย็นสุดใจ)

ท่านเล่าถึงชีวิตของการเป็นสัตว์ว่าแสนลำเค็ญ อดอยากปากแห้ง มีความรู้สึกร้อน หนาว หิวกระหายเหมือนมนุษย์ แต่ก็บอกไม่ได้ พูดไม่ได้ ต้องเที่ยวซอกซอนไปอยู่ตามป่า ตามเขาตามประสาสัตว์ ฝนตกก็เปียกหนาวสั่น แดดออกก็ร้อนไหม้เกรียม อาศัยถ้ำ อาศัยร่มไม้ไปตามเพลง บางทีมาอยู่ใกล้หมู่บ้านหิวกระหาย เห้นพืชผลที่ควรกินเป็นอาหารได้ พอจะจับใส่ปากใส่ท้องได้บ้าง ก็กลับกาลายเป็นของที่เขาหวงห้าม มีเจ้าของต้องถูกเขาขับไสไล่ทำร้าย

ชีวิตที่เวียนว่ายวนอยู่ในกองทุกข์ตามอำนาจกรรมที่กระทำมานี้ แต่บางทีภพชาตินั้นก็ยืดยาวต่อไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหายกตัวอย่างเช่น ตอนท่านเกิดเป็นไก่ ใจนึกปฏิพันธ์รักใคร่นางแม่ไก่ ชื่นชอบภพชาติที่เป็นไก่ของตน ปรารถนาขอให้พบนางไก่อีก ก็ต้องวนเวียนกลับมาเกิดเป็นไก่อยู่เช่นนั้น

หลวงปู่เล่าว่า แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เมื่อท่านระลึกชาติได้ เห็นภพชาติที่เวียนวนกลับไปเกิดเป็นสุนัขถึงหมื่นชาติ ท่านยังเกิดความสลดสังเวช ถึงกับขออธิษฐานเลิกปรารถนาพุทธภูมิ เพราะการบำเพัญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระอวค์หนึ่งในอนาคตนั้น ท่านจะต้องบำเพ็ญต่อไปอีกเป็นแสนกัปแสนกัลป์ฯ เคราะห์ดีที่ท่านเกิดสลดสังเวชคิดได้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงสามารถดำเนินความเพียรเร่งรัดตัดตรงเข้าสู่พระนิพพานเป็นผลสำเร็จได้

วันหนึ่งระหว่างหลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ที่เชียงใหม่ ตกกลางคืนท่านก็เข้าที่ภาวนาตามปกติ ปรากฏภาพนิมิต มีแม่ไก่ตัวหนึ่งมาหาท่าน กิริยาอาการนั้นนอบน้อมอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่งมาถึงก็ใช้ปีกจับต้องกายท่าน จูบท่าน ท่านประหลาดใจที่สัตว์ ตัวเมียแสดงกิริยาอันไม่สมควรต่อพระเช่นนั้น จึงได้ดุว่าเอา แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็อ้างว่า เคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาถึง 7 ชาติแล้ว ความผูกพันยังมีอยู่ไม่อาจจะลืมเลือนได้ แม้จะรู้ว่าพระคุณเจ้าเป็นภิกษุสงฆ์ไม่บังควรจะแสดงความอาวรณ์ผูกพันเช่นนี้ ตนมีกรรมต้องมาบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่ำต้อยน้อยวาสนา ก็ได้แต่นึกสมเพชตัวเองอยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อพระคุณเจ้าผู้เคยเป็นคู่ชีวิตมาอยู่ในถิ่นที่ใกล้ตัวเช่นนี้ ตนอดใจมิได้จึงมากราบขอส่วนบุญบารมี

ในนิมิตนั้นปรากฏว่าหลวงปู่ได้เอ็ดอึงเอาว่าเราเป็นคนเจ้าเป็นสัตว์ จะมาเคยเป็นสามีภรรยากันได้อย่างไร เราไม่เชื่อเจ้า

แม่ไก่ก็เถียงว่า ถ้าเช่นนั้นคอยดู พรุ่งนี้เช้าตอนท่านไปบิณฑบาต ข้าน้อยจะไปจิกจีวรท่านให้ดู

ตอนเช้าหลวงปู่ครองผ้าออกไปบิณฑบาตตามปกติท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้นึกอะไรมาก ด้วยคิดว่าเป็นนิมิตเหลวไหลไร้สาระ แต่เมื่อท่านเดินบิณฑบาตเข้าไปในหมู่บ้านยางที่ชื่อบ้านป่าพัวะ อำเภอจอมทอง ก็มีแม่ไก่ตัวเมียตัวหนึ่งตรงรี่เข้ามาจิกจีวรท่านข้างหลัง! หมู่เพื่อนที่ไปด้วยก็ตกใจ เพราะเป็นสัตว์ตัวเมีย เกรงท่านจะอาบัติ จึงช่วยกันไล่ แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็ยังพยายามวิ่งเข้ามาอีก

คืนนั้นหลวงปู่เข้าที่พิจารณาซ้ำ ก็รู้ว่าแม่ไก่ตัวนั้นเคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมา 7 ชาติแล้วจริงๆ เป็นที่น่าเวทนาสงสารอย่างยิ่งที่นางกระทำไม่ดีไว้ ไม่มีศิล จึงต้องตกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้

ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่านบทความนี้แล้ว พึงระวังเทอญฯ




เรื่องระลึกชาตินั้น จะเกี่ยวกับการพ้นทุกข์หรือไม่ ก็สุดแต่ละท่าน เพราะบางท่านเพียงอยากทราบไว้เท่านั้น

บางท่านหวังว่าทราบแล้ว ถ้ามีจริงจะได้ทำความดีเพื่อให้ไปเกิดแต่ในที่ดีๆ เพราะยังอยากสนุกนานๆอยู่ ส่วนท่านที่เห็นว่า

ยังเกิดในที่ไม่ดี ก็อยากเกิดในที่ดีๆกับเขาบ้าง ขณะที่บางท่านอยากทราบ เพราะเกรงเรื่องทุกข์โทษของวัฎฎะสงสาร ถ้ามีจริง

ก็ไม่อยากเกิดและไม่อยากรอไปจนถึงศาสนาพระศรีอารย์

ผมสงสัยในเรื่องระลึกชาติแบบตายแล้วเกิดอีกหรือไม่มาแต่เป็นเด็ก เพราะได้ยินผู้ใหญ่ที่นับถือเล่าให้ฟังและ

ก็ได้ทันเห็นตัวผู้ที่ระลึกชาติท่านนั้น ซึ่งท่านก็เป็นพระเถระผู้ใหญ่ และยังเป็นเรื่องที่นักวิชาการตะวันตกที่สนใจเรื่องระลึกชาติ

มาศึกษาและยอมรับ มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้

พระเถระที่ผมกล่าวถึงคือ ท่านเจ้าคุณพระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์

อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยท่านจำได้ว่า ท่านเป็นพี่ชายของแม่ท่าน ซึ่งตายขณะที่แม่ท่านคลอดลูก คือ เมื่อท่านตายนั้นญาติ

็มาแจ้งข่าวว่าน้องท่านคลอดแล้ว ท่านก็เลยอยากไปดูน้องสาวและหลาน คิดปุ๊บก็ไปถึงห้องน้องสาวเลย และน้องสาวก็เห็นตัวท่านด้วย

และร้องบอกให้ท่านไปที่ชอบที่ชอบเพราะรู้ว่าท่านตายแล้ว พอท่านจะกลับออกมา ก็รู้สึกเวียนหัว รู้สึกตัวอีกครั้งก็ไปอยู่ในตัวหลานคือตัว

ท่านในปัจจุบัน พอจำความได้ก็เรียกแม่อย่างที่เคยเรียกสมัยเมื่อเป็นน้องสาวท่าน ญาติพี่น้องก็จะพากันลงโทษ หนักเข้าท่านก็แกล้งทำเป็นลืม

แต่ยังจำเรื่องราวสมัยเมื่อท่านเป็นพี่ชายแม่ได้แม่นยำ จนต่อมาท่านได้มาบวชอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ และ

เป็นพระเถระท่านมีจริยาวัตรงดงามมากรูปหนึ่ง

เรื่องนี้ ทำให้ผมสงสัย เพราะแม้จะโน้มเอียงไปทางเชื่อ เพราะท่านผู้ถูกกล่าวถึงก็ยังมีตัวอยู่ ผู้เล่าก็มีวัตถุประสงค์เพียงอยากให้ผม

ขณะเป็นเด็กเกรงกลัวต่อบาปกรรม ทั้งในพระไตรปิฏกก็มีเรื่องทำนองนี้ แต่ถ้ายังไม่มีประสบการณ์กับตนเอง ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าเชื่อ 100 %

อย่างไรก็ดี สมัยยังเป็นเด็ก คืนหนึ่งเคยตื่นขึ้นกลางดึก ลืมตาในสภาพที่ห้องมืดมิด และรู้สึกคุ้นเคย พยายามนึกว่าเคยพบสภาพนี้ที่ไหน

ก็จำได้ว่าเป็นสภาพในขณะที่อยู่ในท้องแม่ก่อนเกิด จำได้ว่า เมื่อรู้สึกตัวในท้องแม่นั้น ก็เหมือนเราหลับแล้วรู้สึกตัวตื่นขึ้นในห้องที่มืดสนิท

มองไม่เห็นอะไรเช่นนี้เหมือนกัน แต่ขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน และมานะอัตตาตัวตนหดตัว เพราะความกลัวอย่างจับจิตจับใจ ไม่เคยพบมาก่อนในชีวิต

และหายซ่าอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ความยึดมั่นเป็นตัวตนนั้นยังมีอยู่ แต่พอคลอดพ้นจากท้องแม่ออกมาเห็นแสงสว่าง ก็เกิดความรู้สึกปลอดภัย

ความซ่า ความยึดมั่นในตัวตน มานะอัตตาต่างๆก็กลับมาเพียบเหมือนเดิม

ต่อมา จำเหตุการณ์ตอนเป็นเด็กทารก และเข้าใจภาษาที่ผู้ใหญ่พูดกันได้เป็นครั้งแรก ตอนนั้น ผู้ใหญ่อุ้มไปด้วย เขาก็นั่งคุยกัน แรกๆฟังไม่เข้าใจ

ก็นิ่งๆไม่ได้สนใจอะไร อยู่ดีๆ เกิดเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดกันผลุดขึ้นมาในใจ ก็ดีใจพยายามจะบอกและร่วมพูดคุยกับผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นเสียงอ้อแอ้ของเด็ก

ผู้ใหญ่ก็หัวเราะกันใหญ่ว่าเราอยากคุยด้วย ใจเราก็เถียงและพยายามจะพูดว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูดกันนะและอยากจะแสดงความเห็นด้วย

พอดี ป้าอุ้มลูกสาวออกมาจากห้อง เลยเอามาว่างไว้ใกล้ๆให้เล่นกัน พอดีพี่สาวลูกป้าถือตุ๊กตามาตัวหนึ่ง ก็เกิดสนใจว่าตัวอะไร อยากรู้ ก็เลยไปดึงเพื่อขอดูว่าเป็นตัวอะไร

พี่สาวคิดว่าจะแย่งก็ร้องและเกิดยื้อแย่งกันขึ้น ขณะนั้นในใจเราก็คิดว่า ไม่ได้ต้องการแย่งของซักหน่อย แค่จะขอดูให้หายสงสัยว่าตัวอะไรเท่านั้น ขี้หวงดีนัก จะลองแย่งดู

ปรากฎว่า ผู้ใหญ่หันมาเห็น เพราะเสียงร้องของพี่สาว ก็เข้ามาห้ามและป้าก็ว่าให้น้องไปนะ แล้วอุ้มพี่สาวที่ร้องไห้กลับเข้าห้องไป ที่จริงตอนนั้นถ้าผูู้้ใหญ่ไม่เข้ามาห้าม

ก็เกือบยอมแพ้พี่สาวอยู่แล้ว เพราะตัวเราเล็กกว่าและพี่สาวกำลังโกรธและหวง เลยมีกำลังมากดึงตุ๊กตากลับไปเกือบจะได้และเรากำลังจะหล่นตกเก้าอี้อยู่แล้ว

พอได้ของมาและรู้ว่าเป็นตัวสัตว์อะไร หายสงสัยแล้ว เราก็ไม่สนใจตุ๊กตาตัวนั้นแล้ว แต่ผู้ใหญ่เกิดเห็นว่าน่ารักเลยถ่ายรูปเราขณะถือตุ๊กตาตัวนั้นไว้

พอโตขึ้น ไปพบภาพนั้น ก็เลยเป็นพยานว่า ไม่ใช่เราคิดไปเอง เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง แต่ถามพี่สาวเขาจำเหตุการณ์นั้นไม่ได้เสียแล้ว

และประสบการณ์สุดท้าย เกิดหลังจากภาวนาจนเห็นผลแล้ว ขณะเดินดูของในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ก็ดูจิตทำสมาธิไปด้วย ดูมาถึงกระดึงไม้ที่ไว้ห้อยคอวัว

ก็เกิดภาพขึ้นในใจ เป็นรูปโคเทียมเกวียนกำลังเดินอยู่ และเหมือนเรากำลังดูตัวเองคือวัวเดินอยู่ พยายามดูไปที่เจ้าของเกวียน ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่ไม่รู้สึกว่าเป็นตัวเอง

จากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้กลัวการเกิดมาก เพราะแค่ภาวะในท้องแม่ก่อนเกิดนั้นก็น่ากลัวมาก หนังผีที่ว่าน่ากลัวอย่างไร ก็ไม่เคยทำให้เรากลัวจนจ๋อยได้ขนาดนั้น

และเห็นด้วยว่า ทำไมเมื่อพบสภาพนั้นแล้ว พอคลอดมาจึงกลับมาซ่า มีมานะอัตตาตัวตนกันอีก แต่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับสภาวะการตาย เลยขอละไว้

ส่วนการเกิดตายในชิีวิตประจำวันนั้น มาเข้าใจก็เมื่อมาภาวนาจนเห็นผลแล้ว ทำให้เห็นการเกิดดับของจิตอยู่เสมอๆ ก็็ไม่สงสัยอะไร




เหตุไรบางคนระลึกชาติได้ บางคนระลึกไม่ได้ ?

เมื่อไม่นานมานี้มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน ได้เข้ามาสำรวจเกี่ยวกับคนที่ระลึกชาติได้ในเมืองไทย เขาได้พบว่ามีอยู่หลายรายที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ว่าระลึกชาติได้จริง ๆ เช่น เท่าที่ปรากฏในเอกสารที่เขารวบรวมไว้ได้นั้นมีอยู่ถึง 600 กว่าราย จากหลักฐานที่เขาอ้างไว้นี้ ทำให้เชื่อได้ว่า คนบางคนสามารถระลึกชาติได้จริง ปัญหามีอยู่ เพราะเหตุไรบางคนจึงระลึกชาติได้ ? และเพราะเหตุไรคนส่วนมากจึงระลึกชาติไม่ได้ ?ขอให้พิจารณาให้เข้าใจเสียก่อนว่า ชีวิตของคนเรานั้นก็เหมือนกับการเดินทาง ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุถึงนิพพานเราก็จะต้องเดินต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีการสิ้นสุด การตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะโดยธรรมดาเมื่อคนเราตายแล้ว หลังจากนั้นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็เกิดใหม่ เพราะฉะนั้นความตายจึงไม่มีความหมายอะไร ความตายก็เหมือนกับการนอนหลับ ซึ่งผู้ที่นอนหลับเมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ย่อมจะจำถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วได้ และในระหว่างที่ไปมีชีวิตอยู่ในโลกของโอปปาติกะนั้น โดยปกติพวกโอปปาติกะที่อยู่ในสุคติภูมิย่อมจำถึงเหตุการณ์ในขณะที่เป็นมนุษย์ได้เสมอ ซึ่งบางคนก็จำได้ดีมาก แต่บางคนถ้าเป็นโอปปาติกะอยู่นาน เพลิดเพลินอยู่กับเหตุการณ์ในโลกของโอปปาติกะ ก็อาจจะลืมเหตุการณ์ในโลกมนุษย์ แต่สำหรับพวกที่ยังสนใจอยู่กับเรื่องมนุษย์และยังจำเหตุการณ์ในระหว่างที่ยังเป็นมนุษย์ได้ดี พวกนี้เมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว ย่อมอยู่ในฐานะที่สามารถจะระลึกชาติก่อนได้



สภาพของจิตตอนที่จะจุติ ถ้าหากเป็นจิตที่มืดมัวไม่ผ่องใส หรืออยู่ในภาวะของความลืมตัว เนื่องจากมีเรื่องอื่น ๆ แทรกเข้ามาในขณะที่กำลังจะจุติ เลยทำให้ลืมถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดโดยหลักธรรมดาเมื่อวิญญาณจุติแล้ว ก็จะปฏิสนธิทันที และในขณะเดียวกันกับที่วิญญาณปฏิสนธินั้น วิญญาณซึ่งอยู่ในสภาพที่ลืมเหตุการณ์ในอดีตทั้งหมด ก็จะเริ่มสร้างสมองขึ้นมาใหม่ตามวิบากที่มีอยู่ในขณะนั้น และสมองที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นก็จะเริ่มตกอยู่ภสยใต้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมที่กำลังมีอยู่ในขณะนั้น และจะอยู่ในสภาพเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งคลอด และเมื่อคลอดออกมาแล้วก็เริ่มได้รับอิทธิพลจากสิ่งภายนอก ซึ่งยิ่งจะทำให้สภาพของสมองและสภาพของจิตใจผิดไปจากในตอนที่ยังเป็นโอปปาติกะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลืมถึงชาติก่อนได้อย่างสนิท



เหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คนเราเกิดมาระลึกชาติก่อนไม่ได้นั้น ก็เพราะพื้นเดิมเป็นคนมีความกดดันมาก มีอารมณ์ค้างมาก เป็นคนมีความจำไม่ดี และชอบฝันหรือสร้างวิมานในอากาศ พื้นนิสัยเหล่านี้แหละที่ทำให้ลืมถึงเหตุการณ์ในอดีต ถ้าหากตอนที่กลังจะจุติมีเหตุการณ์อื่นแทรกเข้ามา เลยทำให้เกิดความลืมตัว ลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ถ้าหากคนไหนพื้นเดิมเป็นคนไม่มีความกดดัน ไม่มีอารมณ์ค้าง เป็นคนมีความจำดี มีสติอยู่กับตัวเสมอ และเป็นคนมีสมาธิดี ในขณะที่กำลังจะจุติ จิตใจก็ผ่องใส สำหรับบุคคลประเภทนี้เมื่อมาเกิดเป็นคนพอเริ่มพูดได้ เขาก็จะบอกได้ถึงชาติก่อนว่าเขาเคยเกิดเป็นอะไร อันที่จริงเขาระลึกได้ตั้งแต่คลอดมาแล้ว แต่เขาพุดไม่ได้ ตอนที่เด็กพูดได้นั้นย่อมหมายถึงสมองของเด็กเจริญอยู่ในขั้นที่จะช่วยทำให้นึกถึงเหตุการณ์ในหนหลังได้แล้ว



สาเหตุอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ระลึกชาติไม่ได้ก็คือเรื่องเวลา ผู้ที่มีชีวิตเป็นโอปปาติกะนานนับเป็นสิบ ๆ ปี หรือร้อยปีขึ้นไปโดยนับตามเวลาในโลกมนุษย์ และไม่ได้มาติดต่อกับมนุษย์เลย พวกนี้เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะระลึกชาติไม่ได้



ตัวอย่างของคนที่ระลึกชาติได้บางคนก็ปรากฏว่าพื้นเดิมเป็นคนไม่สู้จะดีนัก อาจจะทำให้บางคนเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุไรคนประเภทนี้จึงระลึกชาติได้



คนบางคนที่ว่าในอดีตเป็นคนไม่ดีนั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดแล้ว บางทีก็ปรากฏว่าลักษณะโดยทั่วไปของเขาดีกว่าคนบางคนที่เราว่าเป็นคนดีเสียอีก ธรรมดาคนที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่าจะเลวสักเพียงไรความดีก็ต้องมีอยู่บ้าง ไม่เช่นนั้นจะเกิดมาเป็นคนไม่ได้ สำหรับคนที่มีสันดานต่ำจริง ๆ แล้ว จะไม่มีทางระลึกชาติได้เลย



การที่สุนัขหอนนั้นไม่ใช่เพราะมันเห็น แต่เพราะมันได้รับความสั่นสะเทือนที่มาจากกระแสวิญญาณของโอปปาติกะ ในทำนองเดียวกับเมื่อสุนัขได้ยินเสียงระฆังตี เสียงที่เข้าไปในหูของมันนั้นได้สร้างความเสียวสยองให้เกิดขึ้นแก่มัน จนกระทั่งมันทนไม่ได้ จึงได้หอนออกมา โดยธรรมดาประสาทของสุนัขมีความไวมาก และจำแม่น เพราะประสาทของสุนัขมีคุณสมบัติพิเศษนี่แหละ เวลาโอปปาติกะเข้ามาใกล้ มันจึงสามารถรับความสั่นสะเทือนอันนี้ได้ และรู้สึกเสียวสยอง หรือคือรู้สึกไม่สบายจนทนอยู่ไม่ได้จึงได้หอนขึ้นมา



มวยผมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัดครั้งแรก ซึ่งในคัมภีร์กล่าวว่า พวกเทวดาได้เอาไปบรรจุไว้นพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ พวกโอปปาติกะที่อยู่ในภูมินั้นสร้างขึ้นเองไม่ได้ มีโอปปาติกะในภูมิสูงไปสร้างไว้ให้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พวกโอปปาติกะในภูมิต่ำนั้นได้ยึดเหนี่ยว เพื่อเป็นที่พึ่งในทางอันที่จะให้ใจเป็นกุศล เช่นเดียวกับในโลกมนุษย์ในถิ่นที่กันดาร ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไม่สามารถจะสร้างวัดขึ้นมาด้วยกำลังของเขาได้ แต่ก็จะมีคนจากถิ่นอื่น ซึ่งมีฐานะดีมีความรู้ความสามารถไปสร้างวัดเอาไว้ให้สำหรับคนในถิ่นนั้น พระจุฬามณีเจดีย์ซึ่งมีอยู่แต่ละภูมินั้น ก็มีลักษณะไม่เหมือนกันทีเดียว เช่นในภูมิที่ต่ำกว่า รัศมีที่เกิดจากพระจุฬามณีจะมีแสงสว่างไม่มากเท่าไร ความสวยงามความประณีตก็แตกต่างกัน ส่วนในภูมิสูง แสงสว่างที่มาจากพระจุฬามณี กล่าวคือแก้วมณีที่เป็นยอดของพระเจดีย์นั้นมีความสว่างมาก และโดยธรรมดาแสงสว่างที่มีในภูมิของโอปปาติกะแต่ละภูมิ ส่วนใหญ่ก็มาจากพระจุฬามณีเจดีย์



มโนคือวิญญาณเป็นรากฐานของสิ่งทั้งหลาย วิญญาณประเสริฐกว่าสิ่งทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายสำเร็จมาแต่วิญญาณ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกของโอปปาติกะที่ว่าเกิดจากวิญญาณนั้น มองเห็นได้ง่าย และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ที่ว่าเกิดจากวิญญาณมองเห็นได้ยาก ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะรู้ความจริงในเรื่องเหล่านี้ได้ ใครมีสภาพแห่งจิตใจอย่างไร อยู่ในระดับไหน ก็จะไปเกิดอยู่ร่วมกันในภูมิที่เหมาะสมกับจิตใจของตน สิ่งแวดล้อมในโลกของโอปปาติกะ ไม่ได้เกิดขึ้นจากอำนาจจิตของคน ๆ เดียว หรือของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เกิดจากอำนาจจิตโดยส่วนรวมของผู้ที่อยู่ในภูมินั้น ๆ



โอปปาติกะทั้งหลายที่อยู่ในภูมิต่ำ ไม่สามารถแม้กระทั่งจะสร้างอาหารด้วยอำนาจจิตของเขา ต้องอาศัยญาติพี่น้องทำบุญไปให้ ทั้ง ๆ ที่อาหารที่เกิดขึ้นจากผู้อื่นทำบุญไปให้นั้น ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจจิตของตนเอง แต่ก็ไปมีความสัมพันธ์กับอำนาจจิตของคนที่อยู่ในโลกมนุษย์ แต่โอปปาติกะที่อยู่ในภูมิสูง ซึ่งเป็นภูมิของคนที่ได้สร้างความดีเอาไว้มากนั้น สามารถที่จะสร้างอาหารและเสื้อผ้าตลอดถึงสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้ด้วยอำนาจจิต

ของเขา





หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี



" ขณะที่จิตสงบอยู่ย่อมปล่อยอารมณ์ที่เคยรบกวนต่าง ๆ เสียได้ เหลือแต่ความรู้ ความสว่างประจำใจ และความสุขอันเกิดจาก ความสงบตามขั้นของใจเท่านั้น ไม่มีสองกับสิ่งอื่นใด เพราะว่า จิตปราศจากอารมณ์ และเป็นตนของตนอยู่โดยลำพัง แม้กิเลส ส่วนละเอียดยังมีอยู่ภายในก็ไม่แสดงตัว ใจที่ปราศจากอารมณ์ มีความสงบตัวอยู่โดยลำพังนานเพียงไร ก็ย่อมจะแสดงความสุข ความอัศจรรย์ ความสำคัญ ความมีคุณค่า ให้เจ้าของได้ชมนาน และมากเพียงนั้น "



กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี

วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖

นาม บัว โลหิตดี

เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น



พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์



เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง



เสาะหา..อาจารย์ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ



ยืนยัน...ชาตินี้ ชาติหน้า อดีตชาติ มีจริง สภาวะธรรมในใจของท่านขณะนั้น ท่านเคยเล่าให้พระภิกษุในวัดป่าบ้านตาดฟังว่า "เกิดความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตน และเกิดความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า พระสาวกอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมาอย่างนี้ แต่คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้าย ได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว..."


สมณศักดิ์ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ
Source