สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอน ไว้ดังนี้
๑. กายป่วยมิใช่อุปสรรค จิตป่วยตามกายคืออุปสรรค เจ้าไปพิจารณาว่า บุคคลส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติธรรมมีร่างกายป่วย แล้วเป็นอุปสรรคใหญ่ของการปฏิบัติธรรม ซึ่งก็เป็นการเข้าใจถูกแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น จักกล่าวสรุปโดยความนัยแล้ว ผู้ที่เห็นร่างกายป่วยเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติธรรม คือ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจถึงความเป็นจริงของร่างกายจิตต่างหากที่สร้างอุปสรรคให้เกิดขึ้นมาเป็นเวทนา ยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายป่วยเป็นอุปสรรค ซึ่งที่แท้จริงแล้วกรรมเป็นผู้บ่งชี้วิถีของร่างกายของแต่ละบุคคล ทุกชีวิตของร่างกายย่อมเป็นไปตามอำนาจกฎของกรรม ทุกชีวิตที่อุบัติขึ้นในไตรภพนี้ ย่อมมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรม แปลว่าการกระทำ สรรพสัตว์ที่ไม่รักษาศีลปาณาติบาต ย่อมเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา ยิ่งมีร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็มีความพร่องอยู่เป็นนิจ เป็นปกติธรรมของร่างกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมดาทั้งสิ้น
จิตที่ไม่รู้เท่าทันไปฝืนสภาวธรรมที่เป็นปกติต่างหาก ที่สร้างความทุกข์ให้เกิดกับจิต ถ้าหากจิตผู้ปฏิบัติธรรมรู้อย่างนี้ยังจักคิดว่าร่างกายป่วย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมหรือไม่ (ก็รับว่าเป็นอุปสรรค) แต่เรื่องเหล่านี้จักพูดได้แต่กับผู้ที่เป็นบัณฑิตเท่านั้น อย่าไปพูดกับคนพาล เนื่องจากเขาจักพาลเอาว่า ลองมาป่วยเองบ้างซิ ถึงจักรู้ว่าอาการเวทนานั้นเป็นอย่างไร พูดแล้วให้ได้ประโยชน์ เรื่องของพุทธศาสนามีเหตุมีผลก็จริงอยู่ แต่ตถาคตก็หลีกเลี่ยงที่จักสอนคนพาล หรือบุคคลที่ไม่เข้าถึงธรรมการรู้เรื่องขันธ์ ๕ ให้ครบทั้ง ๕ ตัว แล้ววางว่าไม่ใช่เรา มิใช่ของง่าย แต่ถ้าหากสนใจศึกษาปฏิบัติจริงก็ย่อมทำได้ ทรงอารมณ์ให้รู้ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเป็นผู้อาศัย ไม่ติดอยู่ด้วย หมั่นชำระล้างจิตออกจากกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม การทรงอารมณ์นี้ก็จักเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ และถ้าหากไม่ละความเพียร การตัดขันธ์ ๕ ก็เป็นของไม่ยาก
๒. ฟังเทศน์แล้วจำไม่ได้ นึกไม่ออก จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย เพื่อนผมฟังเทศน์เสียงตามสายตอนตี ๔ ซึ่งเป็นเสียงของหลวงพ่อฤๅษีท่านสอนทุกวันตอนตี ๔ ตอนเช้าหลวงพ่อท่านถามว่า ท่านเทศน์เรื่องอะไร เพื่อนผมท่านตอบว่าจำไม่ได้แล้วค่ะ หลวงพ่อทานก็หัวเราะเปรยว่า“แหม! นี่ถ้าคนเขาด่ามา นินทามา ถ้าเอ็งลืมได้อย่างนี้ก็ดีซินะ ไอ้ขี้หมา ทีคำสอนกลับลืมได้ลืมดี แต่ความไม่ดีกลับจำได้ขึ้นใจ” ทรงตรัสว่า “นั่นแหละเป็นปกติจิตของปุถุชนที่มักจักตกอยู่ในห้วงแห่งอกุศลกรรมบังคับ จิตไหลลงสู่เบื้องต่ำอยู่เสมอ การละกิเลสจักต้องฝืนจิตเดิม อันซึ่งเคยจำแต่ในสิ่งที่ไม่ดี ให้กลับมาจำในสิ่งที่ดี อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องผิดธรรมดา อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องธรรมดา จิตเดิมเคยจำ แต่ในสิ่งที่ไม่ดีมานับอเนกชาติไม่ถ้วน จึงเป็นของไม่ง่ายนัก ที่จักละซึ่งนิสัยเดิมเหล่านี้ ให้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาย้อนรอยถอยหลังไป ความจำในสิ่งที่ไม่ดีสร้างความเดือดร้อนให้กับจิตมากขนาดไหน ไม่ว่าจักจำอยู่ในความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็ทำให้จิตเดือดร้อนมาโดยตลอด แล้วให้หาเหตุของความโกรธ ความโลภ ความหลง มาจากไหน ล้วนแล้วมาแต่ขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น
ใครด่า ใครนินทา ใครทำร้าย ก็เนื่องด้วยขันธ์ ๕ เป็นเหตุ จิตไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเราเป็นของเรา จึงจำอยู่ในความโกรธ พยาบาทข้ามภพข้ามชาติแล้ว ความจำเลวอย่างนี้ยังไม่ยุติ ยุติได้ยากถ้าหากไม่ชำระจิตให้ละทิ้งในอุปาทานขันธ์ ๕ ความโลภก็เหมือนกัน การรักขันธ์ ๕ ของตนก็ดี การรักขันธ์ ๕ ของบุคคลอื่นก็ดี ให้พิจารณาดูเหตุที่แท้จริง คือ โลภอยากให้ขันธ์ ๕ นั้นๆ ทรงอยู่ พิจารณาให้ครบรอบทั้ง ๕ ตัว มิใช่รูปแต่เพียงอย่างเดียว รูปที่ปราศจากวิญญาณก็ไม่มีใครต้องการ หรือรูปที่มีวิญญาณปราศจากสังขาร ก็ไม่มีใครต้องการ หรือรูปที่ปราศจากเวทนาก็ไม่มีใครต้องการ มิใช่ตรัสให้งง คนพิการทางประสาทใครอยากจักได้มาครอบครองไหม คนตายใครต้องการไหม คนป่วยเป็นเจ้าหญิง เจ้าชายนิทรา ใครต้องการไหม ลงท้ายสรุปว่าคนเหล่านี้มีให้เราเห็นได้ทุกยุคทุกสมัยแต่จิตโลภต้องการแต่ขันธ์ ๕ ที่ดีๆแล้วขันธ์ ๕ ดีไม่จริง กฎของกรรมบังคับให้แปรปรวนไปตามกฎไตรลักษณ์ จิตโลภ ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง อยากรัก อยากได้ขันธ์ ๕ ข้ามภพข้ามชาติ ด้วยความจำในความทะยานอยากในความโลภนั้น นี่เป็นความจำในสิ่งที่เลวมาทุกๆ ชาติ
ความหลงก็เช่นกัน เป็นความจำเลวของจิตเดิมที่มีมาอย่างเหนียวแน่นทุกชาติให้เห็นสัญญาตามความเป็นจริงอย่างนี้ แล้วให้เจริญสติ สัมปชัญญะ เพื่อจักละซึ่งสัญญาที่จำเลวออกไปเสียจากจิตการสร้างปัญญามีความจำเป็นที่จักต้องพิจารณาย้ำแล้วย้ำอีก เพื่อละให้ได้ซึ่งสัญญาเดิมก่อนเก่าเคยจำแต่เกาะขันธ์ ๕ มาเริ่มต้นเบื่อเพื่อจักถอนความทรงจำ ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของใครทั้งหมด หมั่นพิจารณาให้บ่อยๆ เพื่อละขันธ์ ๕ให้ได้ แล้วมรรคผลนิพพานก็จักได้ในปัจจุบัน
๓. เรื่องคิดถูกแล้วที่เป็นมะเร็ง แล้วไม่ยอมผ่าตัด เรื่องโดยย่อมีดังนี้ เพื่อนผมไปเอกซเรย์ปอด พบจุดเล็ก ๆ เป็นก้อนอยู่ที่ปอดข้างขวา หมอนัดอีก ๒ เดือนให้มาเอกซเรย์ปอดใหม่ หากก้อนโตขึ้นก็เป็นมะเร็งปอด ก็คิดในใจว่า หากมันเป็นมะเร็งจริง ก็จะไม่รับการผ่าตัด โดยมีเหตุผลว่าตนเองเป็นคนตัวคนเดียว ไม่มีเงินทองหรือรายได้อะไร ไม่อยากรบกวนปัจจัยของใคร และมะเร็งบางชนิดผ่าแล้วก็แค่ระงับอาการได้ชั่วคราว บางชนิดกลับแพร่เชื้อมะเร็งให้กระจายไปงอกที่อื่น ต้องใช้ยาเคโมช่วย แต่ไม่ใช่รักษา แต่ประวิงเวลาให้ตายช้าลงเท่านั้น
พระองค์ก็ทรงตรัสว่าเจ้าคิดถูกที่ไม่มุ่งหวังที่จักได้รับการผ่าตัด ถ้าหากผลออกมาภายใน ๒ เดือนว่าเป็นมะเร็ง ประการแรกเจ้าไม่อยากรบกวนปัจจัยของใคร ประการที่ ๒ เจ้ามองผลหลังการผ่าตัดไม่ใช่เป็นแง่บวกอย่างเดียว มะเร็งบางชนิด ผ่าไปแล้วทำให้เชื้อแพร่เร็วยิ่งขึ้นยิ่งเจ้าคิดถึงหลวงปู่วัย ซึ่งเป็นเพียงลำไส้อักเสบเขาผ่าตัดท่าน ซ้ำให้ยาเคโม เพียงแค่ในระยะ ๖ เดือนท่านก็มรณภาพการให้ยาเคโมนั้น เป็นปกติของหมอที่จักให้แก่คนไข้หลังรับการผ่าตัดแล้วเป็นการเข้าใจว่าจักสกัดกั้นทำลายเชื้อมะเร็งที่หลงเหลืออยู่แต่ในคนไข้ส่วนใหญ่แพ้ยาเคโมทำให้มีอาการทรุดและตายไปหลายรายแล้ว กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นแต่หมอไม่คิดหรือหาทางแก้ไขเป็นอย่างอื่น เพียงแต่ยังคงทำตามทฤษฎีที่ตนเองได้ศึกษาและเล่าเรียนมาเรื่องนี้ตถาคตเห็นด้วยที่เจ้าตัดสินใจไม่เข้ารับการผ่าตัด แม้ผลจักออกมาว่าเป็นมะเร็งก็ตาม พึงรักษาไปตามสภาพจงอย่ากังวลใจ อยู่ได้แค่ไหนก็เป็นเรื่องของพระนะ เอาจิตอยู่กับพระนิพพานเข้าไว้เสมอไม่ต้องไปวางแผนรักษาโรคล่วงหน้า ให้กินยาไปตามปกติเท่าที่เป็นอยู่
๔. อย่าวิตก อย่ากังวล ไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้นก็ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาคนในโลกนี้มักจักถูกอกุศลกรรมครอบงำจิตมากกว่ากุศลกรรม แม้แต่เจ้าเองก็ยังตัดนิวรณ์ไม่ได้หมดทั้ง ๕ ประการ ก็จักรู้สึกได้ว่าบางขณะหรือบ่อยครั้ง กรรมที่เป็นอกุศลเข้ามาครอบงำจิต จุดนี้พึงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็จักต้องหาทางแก้ไข เอาตามจริตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ การแก้จริตก็คือหากรรมฐานแก้จริตที่เกิดอารมณ์กำเริบในขณะนั้นๆ อาทิเช่น ราคะเกิดก็หันมาหาอสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติ ในขณะพิจารณาถ้าหากสติ-ปัญญาน้อยกว่ากำลังของกิเลสลงการอารมณ์ ให้จิตเห็นผิดเป็นชอบไปได้โดยง่าย จุดนี้จักต้องหันกลับมาใช้บารมี ๑๐ เป็น ๓๐ ทัศ เข้ามาควบคุมจิตใจ นี่หมายความว่ากำลังจักแพ้ ก็หันมาหาบารมี ๑๐ เป็น ๓๐ ทัศแทนมิใช่รู้ว่าจักแพ้ก็ยังคงพิจารณาอสุภกับกายคตาอยู่นั่นแหละ รับรองว่าแพ้มันแน่นอน ถ้าหากไม่รู้จักพลิกเพลงสถานการณ์
การจับบารมี ๓๐ ทัศ คือ ชั้นศีลประการหนึ่ง ชั้นสมาธิประการหนึ่ง ชั้นปัญญาประการหนึ่ง จิตมีอารมณ์กำเริบด้วยความโกรธก็ดี ความโลภหรือราคะเป็นประการเดียวกันก็ดี ความหลงก็ดี เมื่อใช้กรรมฐานไม่เป็นผล ก็หวนมาอนุโลม - ปฏิโลมในศีล - สมาธิ - ปัญญาให้รู้แจ้งว่า การสำรวมกาย - วาจา - ใจให้เรียบร้อย คือศีล การรักษาใจให้มั่นคงคือสมาธิ การรอบรู้ในกองสังขารชื่อว่าปัญญา เมื่อตีกลับมาพิจารณาบารมี ๓๐ ทัศจนกำลังใจเต็ม อารมณ์กิเลสที่กำเริบก็จักถูกกำราบ หรือระงับลงไปได้อีกขณะหนึ่ง ให้หมั่นทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วจิตจักมีกำลังต่อสู้กับกิเลสได้
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
....................................
ที่มาของข้อมูล
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๒เดือนพฤศจิกายน พศ ๒๕๔๒ตอนหนึ่ง
หนังสือ “ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม
หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......
http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html
ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ
Dhava Vimut
Buddhism Emptiness Interconectivity Nature of Reality
คลิป หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชาติกาเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว
ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถํ้า เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่นํ้าโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถํ้าสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถํ้าไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถํ้าสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนาแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ ๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย ๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต ๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด ๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้ ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่” ดังนี้ เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า “เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย” ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า.. การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง...... นี้แล คือ ตำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์ ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวซึ่งธรรมขันธ์ โดยสังเขปตามสติปัญญา ยังมีท่านคนหนึ่ง รักตัว คิดกลัวทุกข์ อยากได้สุข พ้นภัย เที่ยวผายผัน เขาบอกว่า สุขมีที่ไหน ก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมา อยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้น รักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่ง ท่านรู้จริงซึ่ง สมุทัย พวกสังขาร ท่านก็ปะถํ้า สนุก สุขไม่หาย เปรียบเหมือนดัง กายนี้เอง ชะโงกดูถํ้าสนุก ทุกข์คลาย แสนสบาย รู้ตัว เรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไป เมินมา อยู่หน้าเขา จะกลับไป ป่าวร้อง พวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมา ว่าเป็นบ้า เป็นอันจบเรื่องคิด ไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่าม ทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอ ถูกติ เป็นเรื่อง เครื่องรำคาญ ยังมี บุรุษ คนหนึ่ง คิดกลัวตาย นํ้าใจฝ่อ มาหาแล้ว พูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่า ท่านพากเพียรมา ก็ช้านาน เห็นธรรมที่จริง แล้วหรือยัง ที่ใจหวัง เอ๊ะ ทำไม จึงรู้ใจฉัน บุรุษผู้นั้น ก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ดีฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ ถํ้าสนุก ทุกข์ไม่มี คือ กายคตา สติ ภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจ หายเดือดร้อน หนทางจร อริยวงศ์ จะไป หรือไม่ไป ฉันไม่เกณฑ์ ไม่หลอกเล่น บอกความ ให้ตามจริง แล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ ปริศนานั้นว่า ระวิ่ง คืออะไร ตอบว่า วิ่งเร็ว คือ วิญญาณ อาการใจ เดินเป็นแถว ตามแนวกัน สัญญาตรง น่าสงสัย ใจอยู่ใน วิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอก หลอกลวงจิต ทำให้จิตวุ่นวาย เที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่า ห้าขันธ์ ใครพ้น จนทั้วปวง แก้ว่า ใจซิพ้น อยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติด สิ้นพิศวง หมดที่หลง อยู่เดียวดวง สัญญาทะลวงไม่ได้ หมายหลงตามไป ถามว่าที่ตาย ใครเขาตาย ที่ไหนกัน แก้ว่า สังขารเขาตาย ทำลายผล ถามว่า สิ่งใดก่อ ให้ต่อวน แก้วว่ากลสัญญา พาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิด คิดยินดี ออกจากภพนี้ ไปภพนั้น เที่ยวหันเหียน เลยลืมจิต จำปิด สนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรม ก็ไม่เห็น ถามว่า ใครกำหนด ใครหมาย เป็นธรรม แก้ว่า ใจกำหนด ใจหมาย เรื่องหา เจ้าสัญญา นั่นเอง คือว่าดี ว่าชั่ว ผลักจิต ติดรักชัง ถามว่า กินหนเดียว เที่ยวไม่กิน แก้ว่า สิ้นอยากดู ไม่รู้หวัง ในเรื่องเห็นต่อไป หายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่ง ทิ้งอาลัย
ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยนํ้า แก้ว่า ธรรมสิ้นอยาก จากสงสัย ใสสะอาดหมดราคี ไม่มีภัย สัญญาในนั้น พรากสังขารขันธ์นั้น ไม่ถอน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ ไม่มีพร่อง เงียบสงัด ดวงจิต ไม่คิดปอง เป็นของควรชมชื่น ทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์ สักสิบแสน หากแม้นรู้จริง ทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่ง สิ่งสำคัญ จำส่วนจำ กั้นอยู่ ไม่กํ้าเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้น หายดิ้นรน เหมือนอย่างว่า กระจกส่องหน้า ส่องแล้ว อย่าคิด ติดปัญญา เพราะว่า สัญญานั้น ดังเงา อย่าได้เมา ไปตามเรื่อง เครื่องสังขาร ใจขยัน จับใจ ที่ไม่บ่น ไหวส่วนตน รู้แน่ เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยวของใจ ใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้า ต่างชนิด เมื่อจิตไหว แต่ก่อนนั้น หลงสัญญา ว่าเป็นใจ สำคัญว่าใน ว่านอก จึงหลอกลวง คราวนี้ ใจเป็นใหญ่ ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่ง สัญญาใด มิได้หวัง เกิดก็ตาม ดับก็ตาม สิ่งทั้งปวง ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกันหมู่สัญญา เหมือนยืนบน ยอดเขาสูงแท้ แลเห็นดิน แลเห็นสิ้น ทุกตัวสัตว์ แต่ว่า สูงยิ่งนัก แลเห็นเรื่องของตน แต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้น เช่นบันได ถามว่า นํ้าขึ้นลง ตรงสัจจา นั้นหรือ? ตอบว่าสังขารแปร ก็ไม่ได้ ธรรมดากรรม แต่ไม่แกล้งใคร ขืนผลักไส จับต้อง ก็หมองมัว ชั่วในจิต ไม่ต้องคิด ผิดธรรมดา สภาพสิ่ง เป็นจริง ดีชั่ว ตามแต่ เรื่องของเรื่อง เปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขาร เป็นการเย็น รู้จักจริง ต้องทิ้งสังขาร เมื่อผันแปร เมื่อแลเห็น เบื่อแล้ว ปล่อยได้คล่อง ไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็ใจ เย็นใจ ระงับดับสังขาร รับอาการ ถามว่า ห้าหน้าที่ มีครบครัน แก้ว่า ขันธ์ แย่งแยก แจกห้าฐาน เรื่องสังขาร ต่างกอง รับหน้าที่ มีกิจการ จะรับงานอื่น ไม่ได้ เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญ เจริญสุข นินทาทุกข์ เสื่อมยศ หมดลาภทั่ว รวมลง ตามสภาพ ตามเป็นจริง ทั้ง ๘ สิ่ง ใจไม่หัน ไปพัวพัน เพราะว่า รูปขันธ์ ก็ทำแก้ไข มิได้ถ้วน นาม ก็มิได้พัก เหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรม ที่ทำมา เรื่องดี ถ้าเพลิดเพลิน เจริญใจ เรื่องชั่วขุ่น วุ่นจิต คิดไม่หยุด เหมือนไฟจุด จิตหมอง ไม่ผ่องใส นึกขึ้นเอง ทั้งรัก ทั้งโกรธ ไม่โทษใคร อยากไม่แก่ ไม่ตาย ได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัย จะได้เชย เช่น ไม่อยากให้จิต เที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่ง หวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปร ไม่แน่เลย สัญญาเคย อยู่ได้บ้าง เป็นครั้งคราว ถ้ารู้เท่า ธรรมดา ทั้งห้าขันธ์ ใจนั้น ก็ขาวสะอาด หมดมลทิล สิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้ อย่างนี้ จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริง ถอนหลุด สุดวิธี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดา ตามเป็นจริง จะจน จะมี ตามเรื่อง เครื่องนอกใน ดีหรือชั่ว ต้องดับ เลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ ตามใจหมาย ในไม่เที่ยว ของใจ ไหววะวับ สังเกตจับ รู้ได้สบาย
ยิ่งเล็กบังใหญ่ ไม่รู้ทัน ขันธ์บังธรรมไม่เห็น เป็นธุลีไป ส่วนธรรม มีใหญ่กว่าขันธ์ นั้นไม่แล ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีนี้ คืออะไร? ที่นี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัด ทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับ ไม่มีชัด ใช่สัตว์คน นี่ข้อต้น มีไม่มี อย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มี มีนี้ เป็นธรรม ที่ลํ้าลึก ใครพบ จบประสงค์ ไม่มีสังสาร มีธรรม ที่มั่นคง นั่นแลองค์ธรรมเอก วิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่ง ไม่แปรผัน เลิศพบ สงบนิ่ง เป็นอารมณ์ของใน ไม่ไหวติง ระงับยิ่ง เงียบสงัด ชัดกับใจ ใจก็สร่าง จากเมา หายเร่าร้อน ความอยาก ถอนได้หมด ปลดสงสัย เรื่องพัวพัน ขันธ์ห้า ช้าสิ้นไป เครื่องหมุนไป ไตรจักร ก็หักลง ความอยาก ใหญ่ยิ่ง ก็ทิ้งหลุด ความรักหยุด หายสนิท สิ้นพิศวง ร้อนทั้งปวง ก็หายหมด ดังใจ จง เชิญเถิด ชี้อีกสักอย่าง หนทางใจ สมุทัยของจิต ที่ปิดธรรม แก้ว่า สมุทัย ยิ่งใหญ่นัก ย่อลงคือ ความรักบีบใจ ทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิต เป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิศกัน สมุทัย มิได้มี จงจำไว้อย่างนี้ วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวน จนป่นปี้ ธรรมไม่มี อยู่เป็นนิจ ติดยินดี ใจจากที่ สมุทัย อาลัยตัว ว่าอย่างย่อ ทุกข์กับธรรม ประจำจิต จิตคิด รู้เห็นจริง จึงเย็นทั่ว จะสุข ทุกข์เท่าไร มิได้กลัว สร่างจากเครื่องมัว คือสมุทัย ไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลาย หายความร้อน พอดักผ่อน สืบแสวงหา ทางดี จิตรู้ธรรม ลืมจิต ที่ติดธุลี ใจรู้ธรรม ที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์ แน่ประจำใจ ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์ เท่านั้นแล คำว่าเย็นสบาย หายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิด ที่ติดแก้ ส่วนสังขารขันธ์ ปราศจากสุข เป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ ไข้ตาย ไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ลํ้าเลิศ จิตก็ถอน จากผิด เครื่องเศร้าหมอง ของแสลง ผิดเป็นโทษของใจ อย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้ง ธรรมผิด หมดพิษใจ จิตเห็นธรรม ดีเลิศที่พ้น พบปะธรรม ปลดเปลื้อง เครื่องกระสัน มีสติกับตัว บ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้น ขาดยินดี สิ้นธุลีทั้งปวง หมดห่วงใย ถึงจะคิด ก็ไม่ทันห้าม ตามนิสัย เมื่อไม่ห้าม กลับไม่ฟุ้ง ยุ่งไป พึงได้รู้ ว่าบาปมีขึ้น เพราะขืนจริง ตอบว่า บาปเกิดขึ้น เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตู เขลาได้ สบายยิ่ง ชั่วทั่งปวง เงียบหาย ไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่ง ย่อมทุกข์ ไม่สุขเลย แต่ก่อน ข้าพเจ้ามืดเขลา เหมือนเข้าถํ้า อยากเห็นธรรม ยึดใจ จะให้เฉย ยึดความจำ ว่าเป็นใจ หมายจนเคย เลยเพลินเชยชม จำธรรม มานาน ความจำผิด ปิดไว้ ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่น ขันธ์ ๕ น่าสงสาร ให้ยกตัว ออกตน พ้นประมาณ เที่ยวระราน ติคนอื่น เป็นพื้นใจ ไม่ได้ผล เที่ยวดู โทษคนอื่น ขื่นใจ เหมือนก่อไฟ เผาตัว ต้องมัวมอม ใครผิดถูก ดีชั่ว ก็ตัวเขา ใจของเรา เพียงระวัง ตั้งถนอม อย่าให้อกุศล วนมาตอม ควรถึงพร้อม บุญกุศล ผลสบาย เห็นคนอื่นเขาชั่ว ตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ ที่มั่นหมาย
ยึดขันธ์ ต้องร้อนแท้ ก็แก่ตาย เลยซํ้าแท้ กิเลสเข้ากลุ้ม รุมกวน เต็มทั้งรัก ทั้งโกรธ โทษประจักษ์ ทั้งหลงนัก หนักจิต คิดโทษหวน ทั้งอารมณ์ การห้า ก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่าง ต่างๆ กัน เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้น ทุกข์ร้าย ไปได้เลย ถ้ารู้โทษของตัวแล้ว อย่าช้าเฉย ดูอาการ สังขาร ที่ไม่เที่ยงรํ่าไป ให้ใจเคย คงได้เชยชมธรรมอันเอก วิเวกจิต ไม่เพียงนั้น หมายใจไหว จากจำ เห็นแล้วขำ ดู ดูอยู่ ไหว อารมณ์นอก ดับระงับไปหมด ปรากฏธรรม เห็นธรรมแล้ว ย่อมหาย วุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้ อย่างนี้ วิธีจิต รู้เท่าที่ ไม่เที่ยง จิตต้นฟื้น ริเริ่ม คงจิตเดิม อย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิต พ้นจาก ผิดทั้งปวง ไม่ห่วง ถ้าออกไป ปลายจิต ผิดทันที คำที่ว่า มืดนั้น เพราะจิต คิดหวงดี จิตหวงนี้ ปลายจิต คิดออกไป จิตต้นที่ เมื่อธรรมะปรากฏ หมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิด เลิศโลกา เรื่องจิตค้น วุ่นหามา แต่ก่อน ก็เลิกถอน เปลื้องปลด หมดได้ ไปสิ้น ยังมีทุกข์ ต้องหลับนอน กับกิน ไปตามเรื่อง ธรรมดาของจิต ต้องคิดนึก พอรู้สึก จิตคุ้น พ้นรำคาญ เงียบสงัด จากมาร เครื่องรบกวน ธรรมดา สังขารปรากฏ หมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้น คงไม่มีเลย ระวังใจ เมื่อจำ ทำละเอียด มันจะเบียด ให้จิต ไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของใจ ซํ้าให้เคย เมื่อถึงเฮย หากรู้เอง เพลงของจิต เหมือนดั่งมายา ที่หลอกลวง ท่านว่า วิปัสสนูกิเลส จำแลงเพศ เหมือนดังจริง ที่แท้ ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเอง นามว่า ความเห็น ไม่ใช่เข่น ฟังเข้าใจ ชั้นไต่ถาม ทั้งไตร่ตรอง แยกแยะ และ รูปนาม ก็ใช่ ความเห็นต้อง จงเล็งดู จิตตน พ้นรำคาญ ต้นจิต รู้ตัว ว่าสังขาร เรื่องแปรปรวน ใช่ขบวนไป ดู หรือ รู้จริง อะไรรู้อยู่ เพราะหมายคู่ ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเอง เพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ไหวก็จิต คิดกันไป แยกไม่ได้ตามจริง สิ่งเดียวกัน จิตเป็นของอาการ เรียกว่า สัญญา พาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้น ก็ตัวเอง ไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรส หมดสงสัย ขาดต้นคว้า หาเรื่อง เครื่องนอกใน เรื่องจิตอยาก ก็หยุด ให้หายหิว พ้นหนักใจทั้งหลาย หายอิดโรย เหมือนฝนโปรย ใจก็เย็น ด้วยเห็นใจ ใจเย็นเพราะ ไม่ต้อง เที่ยวมองคน รู้จิต คิดปัจจุบัน พ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่ว ทั้งปวง ไม่ห่วงใย เพราะดับไปทั้งเรื่อง เครื่องรุงรัง อยู่เงียบๆ ต้นจิต ไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิต สิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่น ไม่ต้องวาย หายระวัง นอนหรือนั่ง นึกพ้น อยู่ต้นจิต ท่านชี้มรรค ทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้ม กว้งขวาง สว่างใส ยังอีกอย่าง ทางใจ ไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรด ให้ชี้พิศดาร เป็นการดี ตอบว่าสมุทัย คืออาลัยรัก เพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างตํ่า กามคุณห้า เป็นราคี อย่างสูงชี้ สมุทัย อาลัยฌาน ถ้าจะจับ ตามวิธี มีในจิต ก็เรื่องคิด เพลินไป ในสังขาร เคยทั้งปวง เพลินมา เสียช้านาน กลับเป็นการดีไป ให้เจริญจิต
ไปในส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้าน ฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไป ในผิด ไม่คิดเขิน สิ่งใดชอบอารมณ์ ก็ชมเพลิน เพลินจนเกิน ลืมตัว ไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่น ดื่นด้วยชั่ว โทษของตัว ไม่เห็น เป็นไฉน โทษคนอื่น เขามาก สักเท่าไร ไม่ทำให้เรา ตกนรก เสียเลย โทษของเรา เศร้าหมอง ไม่ต้องมาก ลงวิบาก ไปตกนรก แสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไว้ ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชิญชมสุข พ้นทุกข์ภัย เมื่อเห็นโทษตนชัด พึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่ง คิดมาก จากไม่ได้ เรื่องอยากดี ไม่หยุด คือ สมุทัย เป็นโทษใหญ่ กลัวจะไม่ดี นี้ก็แรง ดีไม่ดี นี้เป็นผิด ของจิตนัก เหมือนไข้หนัก ถูกต้อง ของแสลง กำเริบโรค ด้วยพิษ ผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้ง เพราะอยากดี นี้เป็นเดิม ความอยากดี มีมาก มักลากจิต ให้เที่ยวคิด วุ่นไป จนใจเหิม สรรพชั่ว มัวหมอง ก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่ม รํ่าไป ไกลจากธรรม ที่จริงชี้ สมุทัย นี้ ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้ง ทางยุ่งยิ่ง เมื่อชี้มรรค ฟังใจ ไม่ไหวติง ระงับนิ่ง ใจสงบ จบกันที อันนี้ เชื่อว่า ขันธะวิมุติสมังคีธรรม ประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา สภาวธรรมที่เป็นจริง สิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่อง จะแวะะเวียน สิ้นเนื้อความ แต่เพียงเท่านี้ ผิดหรือถูก จงใช้ปัญญาตรองดู ให้รู้เถิด พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง
ปัจฉิมบท ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่น มาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้างครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึง ปีสุดท้ายของชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมากได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์ เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้ว ให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”ครั้นมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเรื่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษาและศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่ วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนครโดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัด เวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลายมีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่ ประมวลในหลัก ๒ ประการ ดังนี้ ๑.ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุกๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอีสานเกือบทั่วทุกจังหวัดไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศีลธรรมดีมีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย ๒.ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริงๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระศึกษา และปฏิบัติธรรมวินัย ด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริงๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญสมณธรรม ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญ ได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัยได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และ พระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจ ตามหลักการสมถวิปัสสนาอันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ตรัสสอนไว้ว่า เป็นผู้มีนํ้าใจเด็ดเดี่ยว อดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตามคงมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ทำตนให้เป็นทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด ของภาคอีสาน และแถบบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้วท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้นๆ ด้วยผู้ได้รับสงเคราะห์ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภุมิใจว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็น
มนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้า ในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่และได้รับตั้งเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของ เจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์)ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้นโดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่า ท่านได้ทำเต็มสติกำลังยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติตลอดมานับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษษที่ ๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอาจกล่าวได้ ด้วยความภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุด ในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน
================================================
ระลึกชาติ อดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเรื่องราวของคนต่าง ๆ ที่ระลึกชาติได้
เรื่องการระลึกชาติได้ เป็นเรื่องธรรมดาทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครมหาสาวก พระมหาสาวก พระสาวก พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ตลอดจนปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถระลึกชาติได้ ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทางจิต ด้วยการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือบริกรรมภาวนาแบบใด ๆ ก็ตาม ไม่จำกัดด้วยว่าจะนับถือศาสนาอะไร สามารถระลึกชาติได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่บางท่านไม่ต้องฝึกอะไร พอเกิดมาก็ระลึกชาติได้แล้วก็มี อย่างที่เราได้ยินข่าวจากสื่อต่าง ๆ ซึ่งบุคคลที่ระลึกชาิิติได้ ไม่ได้มีเฉพาะชาวพุทธเท่านั้น ยังมีชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ก็สามารถระลึกชาติได้ แต่คนทั่วไป มักจะระลึกได้เพียงชาติหรือสองชาติเท่านั้น ไม่สามารถจะระลึกชาติได้อย่างนับไม่ถ้วนเป็นอเนกชาติ เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณแห่งการระลึกชาติมากกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งกระผมจะได้นำเรื่องราวมาให้ท่านได้อ่านต่อไป
เรื่องการระลึกชาติได้ เป็นเรื่องธรรมดาทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครมหาสาวก พระมหาสาวก พระสาวก พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ตลอดจนปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถระลึกชาติได้ ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทางจิต ด้วยการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือบริกรรมภาวนาแบบใด ๆ ก็ตาม ไม่จำกัดด้วยว่าจะนับถือศาสนาอะไร สามารถระลึกชาติได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่บางท่านไม่ต้องฝึกอะไร พอเกิดมาก็ระลึกชาติได้แล้วก็มี อย่างที่เราได้ยินข่าวจากสื่อต่าง ๆ ซึ่งบุคคลที่ระลึกชาิิติได้ ไม่ได้มีเฉพาะชาวพุทธเท่านั้น ยังมีชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ก็สามารถระลึกชาติได้ แต่คนทั่วไป มักจะระลึกได้เพียงชาติหรือสองชาติเท่านั้น ไม่สามารถจะระลึกชาติได้อย่างนับไม่ถ้วนเป็นอเนกชาติ เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณแห่งการระลึกชาติมากกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งกระผมจะได้นำเรื่องราวมาให้ท่านได้อ่านต่อไป
ได้มีผู้เคยสัมภารณ์ผู้ระสึกชาติได้มาหลายรายและได้นำคำสัมภาษณ์นั้นๆมาเขียนหลายเรื่องแล้ว แต่ไม่มีเรื่องใดดูจะอัศจรรย์ดังเรื่องของผู้ระลึกชาติได้เท่าท่านนี้เลย ทั้งนี้เพราะท่านเป็นพระเถระ ที่ใช้ชีวิตสมณเพศทั้งหมดอยู่กับการปฏิบัติ จนบางครั้งแทบจะเอาชีวิตไปทิ้งกลางป่ากลางดง และเนื่องจากผลของการปฏิบัติธรรม จึงทำให้ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังไปได้อีกหลายสิบชาติ
ท่านผู้นี้คือ พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งเป็นศิษย์เอกที่เลิศในทางอภิญญาของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะบูรพาจารย์ของพระเถระทั้งหลายในปัจจุบัน
แต่ก่อนที่จะเล่าสู่กันฟัง จำเป็นจะต้องเรียนท่านผู้อ่านทั้งหลายให้ทราบเสียก่อนว่า เรื่องของ หลวงปู่ชอบ ระลึกชาติตอนนี้ ผู้เขียนได้รับอนุญาตจาก คุณสุรีพันธุ์ มณีวัต ศิษย์ของท่านผู้บันทึกชีวประวัติของหลวงปู่เรียบร้อยแล้ว จึงขอขอบพระคุณคุณสุรีพันธุ์ มาณ โอกาสนี้
ในเรื่อง บุพเพนิวาสานุสติญาณ หรือ ญาณระลึกชาติได้นั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหลวงปู่จะมีหรือไม่ สมเด็จพระพุทธองคืได้ญาณนี้เมื่อคืนวันตรัสรู้ในเวลาปฐมยามซึ่งเป็นญาณลำบแรกที่ทรงบรรลุ ทราบทราบระลึกชาติหนหลังได้ ทั้งของพระองค์เองและสัตว์โลกอื่นๆ ตั้งแต่ชาติหนึ่งจนถึงเอนกชาติหาประมาณมิได้....
พระพุทธองค์ไม่แต่จะเคยเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มนุษย์ ที่เป็นทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น หากท่านเคยเป็นคนยากจนเข็ญใจ ก็มีอยู่หลายชาติ ทั้งเคยเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้การตกนรกหมกไหม้ก็เคยผ่านขุมนรกต่างๆ มาแล้วเช่นกัน ทำให้พระพุทธองค์ทรงเบื่อหน่ายในชาติกำเนิด การเวียนว่ายตายเกิดเป็นอย่างยิ่ง การจุติแปรผัน ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ของสัตว์โลกไม่มีที่สิ้นสุด
ญาณนี้เองเป็นเบื้องต้น เป็นบันไดขั้นแรกในคืนวันเพ็ญเดือนหก เมื่อสองพันห้าร้อยสามสิบพรรษาเศษที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้พระองค์ไปสู่การตรัสรู้ คือ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในกาลต่อมา
สำหรับญาณการระลึกรู้อดีตชาตินี้ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เคยขอโอกาสกราบเรียนถราบหลวงปู่ ซึ่งท่านก็ยอมเล่าให้ฟังบ้างเป็นสังเขป
หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้ระลึกชาติได้มากมายอะไร ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงระลึกได้เป็นเอนกชาติหาประมาณมิได้นั้น เป็นเพราะพระพุทธองค์ทรงมหาสติ มหาปัญญา มหาบารมีอย่างหาผู้ใดเทียบมิได้
สำหรับหลวงปู่นี้ เท่าที่ระลึกชาติได้ ท่านไม่เคยเป็นกษัตริย์มักจะเป็นคนตกทุกข์ได้ยากเสียมากกว่า
เคยเป็นพ่อค้าขายผ้าชาติลาว ออกเดินทางมากับ พ่อเชียงหมุน(อุปัฏฐากคนหนึ่งในชาตินี้) ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย มาทานผ้าขาวหนึ่งวาและเงิน 50 สตางค์ บูชาถวายพระธาตุพนมพร้อมทั้งอธิษฐานขอให้ได้บวชได้พ้นทุกข์ ท่านเล่าว่าท่านเคยมาช่วยสร้างพระธาตุพนมด้วยสมัยพระมหากัสสปะเถระเจ้า พระธาตุพนมนี้สร้างก่อนพระปฐมเจดีย์
ท่านเคยเป็นคนยางอยู่ในป่า เคยเกิดเป็นทหารพม่ามารบกับไทย แต่ยังไม่ทันฆ่าคนไทย ก็ตายเสียก่อน เคยเกิดอยู่เมืองปัน พม่า ชาตินี้ท่านก็ได้กลับไปดูบ้านเกิดในชาติก่อนที่เมืองปันด้วย
เคยเป็นทหารไปหลบภัยที่ถ้ำกระ เชียงใหม่ และได้ตายเพราะอดข้าวที่นั่น
หลวงปู่ เคยเป็นพระภิกษุ รักษาศิลอยู่กับพระอนุรุทธ เคยเป็นสามเณรน้อย ลูกศิษย์พระมหากัสสปะ
สำหรับการเกิดเป็นสัตว์ นั้น หลวงปู่เล่าว่า ท่านผ่านพ้นมาอย่างทุกข์ยากแสนเข็ญ เช่นเคยเกิดเป็นผีเสื้อแล้วถูกค้างคาวไล่จับเอาไปกินที่ถ้ำผาดิน เคยเกิดเป็นฟาน หรือเก้ง ไปแอบกินมะกอก กินยังไม่ทันอิ่มสมอยาก ก็ถูกมนุษย์ไล่ยิง เขายิงที่โคกมนถูกที่ขา วิ่งหนีกระเซอะกระเซิงไปตายที่บ้านม่วง
เมื่อครั้งเกิดเป็นหมีไปกินแตงช้าง (แตงร้าน) ของชาวบ้านถูกเจ้าของเขาเอามีดไล่ฟันถูกหัวถูกหู เคราะห์ดีไม่ถึงตาย แต่ก็บาดเจ็บมาก ต้องทนทุกข์ไปจนกระทั่งหายไปเอง
เคยเกิดเป็นไก่ มีความรักผูกพันรักชอบนางแม่ไก่สาว จึงอธิษฐานให้ได้พบกันอีก ทำให้กลับมาเกิดเป็นไก่ซ้ำถึง 7 ชาติ
เคยเกิดเป็นปลา ซึ่งอยู่ในสระ (ปัจจุบันอยู่ที่สวนหลังบ้านของ พล.อ.อ.พโยม เย็นสุดใจ)
ท่านเล่าถึงชีวิตของการเป็นสัตว์ว่าแสนลำเค็ญ อดอยากปากแห้ง มีความรู้สึกร้อน หนาว หิวกระหายเหมือนมนุษย์ แต่ก็บอกไม่ได้ พูดไม่ได้ ต้องเที่ยวซอกซอนไปอยู่ตามป่า ตามเขาตามประสาสัตว์ ฝนตกก็เปียกหนาวสั่น แดดออกก็ร้อนไหม้เกรียม อาศัยถ้ำ อาศัยร่มไม้ไปตามเพลง บางทีมาอยู่ใกล้หมู่บ้านหิวกระหาย เห้นพืชผลที่ควรกินเป็นอาหารได้ พอจะจับใส่ปากใส่ท้องได้บ้าง ก็กลับกาลายเป็นของที่เขาหวงห้าม มีเจ้าของต้องถูกเขาขับไสไล่ทำร้าย
ชีวิตที่เวียนว่ายวนอยู่ในกองทุกข์ตามอำนาจกรรมที่กระทำมานี้ แต่บางทีภพชาตินั้นก็ยืดยาวต่อไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหายกตัวอย่างเช่น ตอนท่านเกิดเป็นไก่ ใจนึกปฏิพันธ์รักใคร่นางแม่ไก่ ชื่นชอบภพชาติที่เป็นไก่ของตน ปรารถนาขอให้พบนางไก่อีก ก็ต้องวนเวียนกลับมาเกิดเป็นไก่อยู่เช่นนั้น
หลวงปู่เล่าว่า แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เมื่อท่านระลึกชาติได้ เห็นภพชาติที่เวียนวนกลับไปเกิดเป็นสุนัขถึงหมื่นชาติ ท่านยังเกิดความสลดสังเวช ถึงกับขออธิษฐานเลิกปรารถนาพุทธภูมิ เพราะการบำเพัญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระอวค์หนึ่งในอนาคตนั้น ท่านจะต้องบำเพ็ญต่อไปอีกเป็นแสนกัปแสนกัลป์ฯ เคราะห์ดีที่ท่านเกิดสลดสังเวชคิดได้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงสามารถดำเนินความเพียรเร่งรัดตัดตรงเข้าสู่พระนิพพานเป็นผลสำเร็จได้
วันหนึ่งระหว่างหลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ที่เชียงใหม่ ตกกลางคืนท่านก็เข้าที่ภาวนาตามปกติ ปรากฏภาพนิมิต มีแม่ไก่ตัวหนึ่งมาหาท่าน กิริยาอาการนั้นนอบน้อมอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่งมาถึงก็ใช้ปีกจับต้องกายท่าน จูบท่าน ท่านประหลาดใจที่สัตว์ ตัวเมียแสดงกิริยาอันไม่สมควรต่อพระเช่นนั้น จึงได้ดุว่าเอา แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็อ้างว่า เคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาถึง 7 ชาติแล้ว ความผูกพันยังมีอยู่ไม่อาจจะลืมเลือนได้ แม้จะรู้ว่าพระคุณเจ้าเป็นภิกษุสงฆ์ไม่บังควรจะแสดงความอาวรณ์ผูกพันเช่นนี้ ตนมีกรรมต้องมาบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่ำต้อยน้อยวาสนา ก็ได้แต่นึกสมเพชตัวเองอยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อพระคุณเจ้าผู้เคยเป็นคู่ชีวิตมาอยู่ในถิ่นที่ใกล้ตัวเช่นนี้ ตนอดใจมิได้จึงมากราบขอส่วนบุญบารมี
ในนิมิตนั้นปรากฏว่าหลวงปู่ได้เอ็ดอึงเอาว่าเราเป็นคนเจ้าเป็นสัตว์ จะมาเคยเป็นสามีภรรยากันได้อย่างไร เราไม่เชื่อเจ้า
แม่ไก่ก็เถียงว่า ถ้าเช่นนั้นคอยดู พรุ่งนี้เช้าตอนท่านไปบิณฑบาต ข้าน้อยจะไปจิกจีวรท่านให้ดู
ตอนเช้าหลวงปู่ครองผ้าออกไปบิณฑบาตตามปกติท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้นึกอะไรมาก ด้วยคิดว่าเป็นนิมิตเหลวไหลไร้สาระ แต่เมื่อท่านเดินบิณฑบาตเข้าไปในหมู่บ้านยางที่ชื่อบ้านป่าพัวะ อำเภอจอมทอง ก็มีแม่ไก่ตัวเมียตัวหนึ่งตรงรี่เข้ามาจิกจีวรท่านข้างหลัง! หมู่เพื่อนที่ไปด้วยก็ตกใจ เพราะเป็นสัตว์ตัวเมีย เกรงท่านจะอาบัติ จึงช่วยกันไล่ แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็ยังพยายามวิ่งเข้ามาอีก
คืนนั้นหลวงปู่เข้าที่พิจารณาซ้ำ ก็รู้ว่าแม่ไก่ตัวนั้นเคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมา 7 ชาติแล้วจริงๆ เป็นที่น่าเวทนาสงสารอย่างยิ่งที่นางกระทำไม่ดีไว้ ไม่มีศิล จึงต้องตกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้
ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่านบทความนี้แล้ว พึงระวังเทอญฯ
เรื่องระลึกชาตินั้น จะเกี่ยวกับการพ้นทุกข์หรือไม่ ก็สุดแต่ละท่าน เพราะบางท่านเพียงอยากทราบไว้เท่านั้น
บางท่านหวังว่าทราบแล้ว ถ้ามีจริงจะได้ทำความดีเพื่อให้ไปเกิดแต่ในที่ดีๆ เพราะยังอยากสนุกนานๆอยู่ ส่วนท่านที่เห็นว่า
ยังเกิดในที่ไม่ดี ก็อยากเกิดในที่ดีๆกับเขาบ้าง ขณะที่บางท่านอยากทราบ เพราะเกรงเรื่องทุกข์โทษของวัฎฎะสงสาร ถ้ามีจริง
ก็ไม่อยากเกิดและไม่อยากรอไปจนถึงศาสนาพระศรีอารย์
ผมสงสัยในเรื่องระลึกชาติแบบตายแล้วเกิดอีกหรือไม่มาแต่เป็นเด็ก เพราะได้ยินผู้ใหญ่ที่นับถือเล่าให้ฟังและ
ก็ได้ทันเห็นตัวผู้ที่ระลึกชาติท่านนั้น ซึ่งท่านก็เป็นพระเถระผู้ใหญ่ และยังเป็นเรื่องที่นักวิชาการตะวันตกที่สนใจเรื่องระลึกชาติ
มาศึกษาและยอมรับ มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้
พระเถระที่ผมกล่าวถึงคือ ท่านเจ้าคุณพระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยท่านจำได้ว่า ท่านเป็นพี่ชายของแม่ท่าน ซึ่งตายขณะที่แม่ท่านคลอดลูก คือ เมื่อท่านตายนั้นญาติ
็มาแจ้งข่าวว่าน้องท่านคลอดแล้ว ท่านก็เลยอยากไปดูน้องสาวและหลาน คิดปุ๊บก็ไปถึงห้องน้องสาวเลย และน้องสาวก็เห็นตัวท่านด้วย
และร้องบอกให้ท่านไปที่ชอบที่ชอบเพราะรู้ว่าท่านตายแล้ว พอท่านจะกลับออกมา ก็รู้สึกเวียนหัว รู้สึกตัวอีกครั้งก็ไปอยู่ในตัวหลานคือตัว
ท่านในปัจจุบัน พอจำความได้ก็เรียกแม่อย่างที่เคยเรียกสมัยเมื่อเป็นน้องสาวท่าน ญาติพี่น้องก็จะพากันลงโทษ หนักเข้าท่านก็แกล้งทำเป็นลืม
แต่ยังจำเรื่องราวสมัยเมื่อท่านเป็นพี่ชายแม่ได้แม่นยำ จนต่อมาท่านได้มาบวชอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ และ
เป็นพระเถระท่านมีจริยาวัตรงดงามมากรูปหนึ่ง
เรื่องนี้ ทำให้ผมสงสัย เพราะแม้จะโน้มเอียงไปทางเชื่อ เพราะท่านผู้ถูกกล่าวถึงก็ยังมีตัวอยู่ ผู้เล่าก็มีวัตถุประสงค์เพียงอยากให้ผม
ขณะเป็นเด็กเกรงกลัวต่อบาปกรรม ทั้งในพระไตรปิฏกก็มีเรื่องทำนองนี้ แต่ถ้ายังไม่มีประสบการณ์กับตนเอง ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าเชื่อ 100 %
อย่างไรก็ดี สมัยยังเป็นเด็ก คืนหนึ่งเคยตื่นขึ้นกลางดึก ลืมตาในสภาพที่ห้องมืดมิด และรู้สึกคุ้นเคย พยายามนึกว่าเคยพบสภาพนี้ที่ไหน
ก็จำได้ว่าเป็นสภาพในขณะที่อยู่ในท้องแม่ก่อนเกิด จำได้ว่า เมื่อรู้สึกตัวในท้องแม่นั้น ก็เหมือนเราหลับแล้วรู้สึกตัวตื่นขึ้นในห้องที่มืดสนิท
มองไม่เห็นอะไรเช่นนี้เหมือนกัน แต่ขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน และมานะอัตตาตัวตนหดตัว เพราะความกลัวอย่างจับจิตจับใจ ไม่เคยพบมาก่อนในชีวิต
และหายซ่าอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ความยึดมั่นเป็นตัวตนนั้นยังมีอยู่ แต่พอคลอดพ้นจากท้องแม่ออกมาเห็นแสงสว่าง ก็เกิดความรู้สึกปลอดภัย
ความซ่า ความยึดมั่นในตัวตน มานะอัตตาต่างๆก็กลับมาเพียบเหมือนเดิม
ต่อมา จำเหตุการณ์ตอนเป็นเด็กทารก และเข้าใจภาษาที่ผู้ใหญ่พูดกันได้เป็นครั้งแรก ตอนนั้น ผู้ใหญ่อุ้มไปด้วย เขาก็นั่งคุยกัน แรกๆฟังไม่เข้าใจ
ก็นิ่งๆไม่ได้สนใจอะไร อยู่ดีๆ เกิดเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดกันผลุดขึ้นมาในใจ ก็ดีใจพยายามจะบอกและร่วมพูดคุยกับผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นเสียงอ้อแอ้ของเด็ก
ผู้ใหญ่ก็หัวเราะกันใหญ่ว่าเราอยากคุยด้วย ใจเราก็เถียงและพยายามจะพูดว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูดกันนะและอยากจะแสดงความเห็นด้วย
พอดี ป้าอุ้มลูกสาวออกมาจากห้อง เลยเอามาว่างไว้ใกล้ๆให้เล่นกัน พอดีพี่สาวลูกป้าถือตุ๊กตามาตัวหนึ่ง ก็เกิดสนใจว่าตัวอะไร อยากรู้ ก็เลยไปดึงเพื่อขอดูว่าเป็นตัวอะไร
พี่สาวคิดว่าจะแย่งก็ร้องและเกิดยื้อแย่งกันขึ้น ขณะนั้นในใจเราก็คิดว่า ไม่ได้ต้องการแย่งของซักหน่อย แค่จะขอดูให้หายสงสัยว่าตัวอะไรเท่านั้น ขี้หวงดีนัก จะลองแย่งดู
ปรากฎว่า ผู้ใหญ่หันมาเห็น เพราะเสียงร้องของพี่สาว ก็เข้ามาห้ามและป้าก็ว่าให้น้องไปนะ แล้วอุ้มพี่สาวที่ร้องไห้กลับเข้าห้องไป ที่จริงตอนนั้นถ้าผูู้้ใหญ่ไม่เข้ามาห้าม
ก็เกือบยอมแพ้พี่สาวอยู่แล้ว เพราะตัวเราเล็กกว่าและพี่สาวกำลังโกรธและหวง เลยมีกำลังมากดึงตุ๊กตากลับไปเกือบจะได้และเรากำลังจะหล่นตกเก้าอี้อยู่แล้ว
พอได้ของมาและรู้ว่าเป็นตัวสัตว์อะไร หายสงสัยแล้ว เราก็ไม่สนใจตุ๊กตาตัวนั้นแล้ว แต่ผู้ใหญ่เกิดเห็นว่าน่ารักเลยถ่ายรูปเราขณะถือตุ๊กตาตัวนั้นไว้
พอโตขึ้น ไปพบภาพนั้น ก็เลยเป็นพยานว่า ไม่ใช่เราคิดไปเอง เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง แต่ถามพี่สาวเขาจำเหตุการณ์นั้นไม่ได้เสียแล้ว
และประสบการณ์สุดท้าย เกิดหลังจากภาวนาจนเห็นผลแล้ว ขณะเดินดูของในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ก็ดูจิตทำสมาธิไปด้วย ดูมาถึงกระดึงไม้ที่ไว้ห้อยคอวัว
ก็เกิดภาพขึ้นในใจ เป็นรูปโคเทียมเกวียนกำลังเดินอยู่ และเหมือนเรากำลังดูตัวเองคือวัวเดินอยู่ พยายามดูไปที่เจ้าของเกวียน ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่ไม่รู้สึกว่าเป็นตัวเอง
จากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้กลัวการเกิดมาก เพราะแค่ภาวะในท้องแม่ก่อนเกิดนั้นก็น่ากลัวมาก หนังผีที่ว่าน่ากลัวอย่างไร ก็ไม่เคยทำให้เรากลัวจนจ๋อยได้ขนาดนั้น
และเห็นด้วยว่า ทำไมเมื่อพบสภาพนั้นแล้ว พอคลอดมาจึงกลับมาซ่า มีมานะอัตตาตัวตนกันอีก แต่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับสภาวะการตาย เลยขอละไว้
ส่วนการเกิดตายในชิีวิตประจำวันนั้น มาเข้าใจก็เมื่อมาภาวนาจนเห็นผลแล้ว ทำให้เห็นการเกิดดับของจิตอยู่เสมอๆ ก็็ไม่สงสัยอะไร
เหตุไรบางคนระลึกชาติได้ บางคนระลึกไม่ได้ ?
เมื่อไม่นานมานี้มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน ได้เข้ามาสำรวจเกี่ยวกับคนที่ระลึกชาติได้ในเมืองไทย เขาได้พบว่ามีอยู่หลายรายที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ว่าระลึกชาติได้จริง ๆ เช่น เท่าที่ปรากฏในเอกสารที่เขารวบรวมไว้ได้นั้นมีอยู่ถึง 600 กว่าราย จากหลักฐานที่เขาอ้างไว้นี้ ทำให้เชื่อได้ว่า คนบางคนสามารถระลึกชาติได้จริง ปัญหามีอยู่ เพราะเหตุไรบางคนจึงระลึกชาติได้ ? และเพราะเหตุไรคนส่วนมากจึงระลึกชาติไม่ได้ ?ขอให้พิจารณาให้เข้าใจเสียก่อนว่า ชีวิตของคนเรานั้นก็เหมือนกับการเดินทาง ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุถึงนิพพานเราก็จะต้องเดินต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีการสิ้นสุด การตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะโดยธรรมดาเมื่อคนเราตายแล้ว หลังจากนั้นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็เกิดใหม่ เพราะฉะนั้นความตายจึงไม่มีความหมายอะไร ความตายก็เหมือนกับการนอนหลับ ซึ่งผู้ที่นอนหลับเมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ย่อมจะจำถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วได้ และในระหว่างที่ไปมีชีวิตอยู่ในโลกของโอปปาติกะนั้น โดยปกติพวกโอปปาติกะที่อยู่ในสุคติภูมิย่อมจำถึงเหตุการณ์ในขณะที่เป็นมนุษย์ได้เสมอ ซึ่งบางคนก็จำได้ดีมาก แต่บางคนถ้าเป็นโอปปาติกะอยู่นาน เพลิดเพลินอยู่กับเหตุการณ์ในโลกของโอปปาติกะ ก็อาจจะลืมเหตุการณ์ในโลกมนุษย์ แต่สำหรับพวกที่ยังสนใจอยู่กับเรื่องมนุษย์และยังจำเหตุการณ์ในระหว่างที่ยังเป็นมนุษย์ได้ดี พวกนี้เมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว ย่อมอยู่ในฐานะที่สามารถจะระลึกชาติก่อนได้
สภาพของจิตตอนที่จะจุติ ถ้าหากเป็นจิตที่มืดมัวไม่ผ่องใส หรืออยู่ในภาวะของความลืมตัว เนื่องจากมีเรื่องอื่น ๆ แทรกเข้ามาในขณะที่กำลังจะจุติ เลยทำให้ลืมถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดโดยหลักธรรมดาเมื่อวิญญาณจุติแล้ว ก็จะปฏิสนธิทันที และในขณะเดียวกันกับที่วิญญาณปฏิสนธินั้น วิญญาณซึ่งอยู่ในสภาพที่ลืมเหตุการณ์ในอดีตทั้งหมด ก็จะเริ่มสร้างสมองขึ้นมาใหม่ตามวิบากที่มีอยู่ในขณะนั้น และสมองที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นก็จะเริ่มตกอยู่ภสยใต้อิทธิพลของกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมที่กำลังมีอยู่ในขณะนั้น และจะอยู่ในสภาพเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งคลอด และเมื่อคลอดออกมาแล้วก็เริ่มได้รับอิทธิพลจากสิ่งภายนอก ซึ่งยิ่งจะทำให้สภาพของสมองและสภาพของจิตใจผิดไปจากในตอนที่ยังเป็นโอปปาติกะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลืมถึงชาติก่อนได้อย่างสนิท
เหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คนเราเกิดมาระลึกชาติก่อนไม่ได้นั้น ก็เพราะพื้นเดิมเป็นคนมีความกดดันมาก มีอารมณ์ค้างมาก เป็นคนมีความจำไม่ดี และชอบฝันหรือสร้างวิมานในอากาศ พื้นนิสัยเหล่านี้แหละที่ทำให้ลืมถึงเหตุการณ์ในอดีต ถ้าหากตอนที่กลังจะจุติมีเหตุการณ์อื่นแทรกเข้ามา เลยทำให้เกิดความลืมตัว ลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ถ้าหากคนไหนพื้นเดิมเป็นคนไม่มีความกดดัน ไม่มีอารมณ์ค้าง เป็นคนมีความจำดี มีสติอยู่กับตัวเสมอ และเป็นคนมีสมาธิดี ในขณะที่กำลังจะจุติ จิตใจก็ผ่องใส สำหรับบุคคลประเภทนี้เมื่อมาเกิดเป็นคนพอเริ่มพูดได้ เขาก็จะบอกได้ถึงชาติก่อนว่าเขาเคยเกิดเป็นอะไร อันที่จริงเขาระลึกได้ตั้งแต่คลอดมาแล้ว แต่เขาพุดไม่ได้ ตอนที่เด็กพูดได้นั้นย่อมหมายถึงสมองของเด็กเจริญอยู่ในขั้นที่จะช่วยทำให้นึกถึงเหตุการณ์ในหนหลังได้แล้ว
สาเหตุอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ระลึกชาติไม่ได้ก็คือเรื่องเวลา ผู้ที่มีชีวิตเป็นโอปปาติกะนานนับเป็นสิบ ๆ ปี หรือร้อยปีขึ้นไปโดยนับตามเวลาในโลกมนุษย์ และไม่ได้มาติดต่อกับมนุษย์เลย พวกนี้เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะระลึกชาติไม่ได้
ตัวอย่างของคนที่ระลึกชาติได้บางคนก็ปรากฏว่าพื้นเดิมเป็นคนไม่สู้จะดีนัก อาจจะทำให้บางคนเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุไรคนประเภทนี้จึงระลึกชาติได้
คนบางคนที่ว่าในอดีตเป็นคนไม่ดีนั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดแล้ว บางทีก็ปรากฏว่าลักษณะโดยทั่วไปของเขาดีกว่าคนบางคนที่เราว่าเป็นคนดีเสียอีก ธรรมดาคนที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่าจะเลวสักเพียงไรความดีก็ต้องมีอยู่บ้าง ไม่เช่นนั้นจะเกิดมาเป็นคนไม่ได้ สำหรับคนที่มีสันดานต่ำจริง ๆ แล้ว จะไม่มีทางระลึกชาติได้เลย
การที่สุนัขหอนนั้นไม่ใช่เพราะมันเห็น แต่เพราะมันได้รับความสั่นสะเทือนที่มาจากกระแสวิญญาณของโอปปาติกะ ในทำนองเดียวกับเมื่อสุนัขได้ยินเสียงระฆังตี เสียงที่เข้าไปในหูของมันนั้นได้สร้างความเสียวสยองให้เกิดขึ้นแก่มัน จนกระทั่งมันทนไม่ได้ จึงได้หอนออกมา โดยธรรมดาประสาทของสุนัขมีความไวมาก และจำแม่น เพราะประสาทของสุนัขมีคุณสมบัติพิเศษนี่แหละ เวลาโอปปาติกะเข้ามาใกล้ มันจึงสามารถรับความสั่นสะเทือนอันนี้ได้ และรู้สึกเสียวสยอง หรือคือรู้สึกไม่สบายจนทนอยู่ไม่ได้จึงได้หอนขึ้นมา
มวยผมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัดครั้งแรก ซึ่งในคัมภีร์กล่าวว่า พวกเทวดาได้เอาไปบรรจุไว้นพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ พวกโอปปาติกะที่อยู่ในภูมินั้นสร้างขึ้นเองไม่ได้ มีโอปปาติกะในภูมิสูงไปสร้างไว้ให้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พวกโอปปาติกะในภูมิต่ำนั้นได้ยึดเหนี่ยว เพื่อเป็นที่พึ่งในทางอันที่จะให้ใจเป็นกุศล เช่นเดียวกับในโลกมนุษย์ในถิ่นที่กันดาร ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไม่สามารถจะสร้างวัดขึ้นมาด้วยกำลังของเขาได้ แต่ก็จะมีคนจากถิ่นอื่น ซึ่งมีฐานะดีมีความรู้ความสามารถไปสร้างวัดเอาไว้ให้สำหรับคนในถิ่นนั้น พระจุฬามณีเจดีย์ซึ่งมีอยู่แต่ละภูมินั้น ก็มีลักษณะไม่เหมือนกันทีเดียว เช่นในภูมิที่ต่ำกว่า รัศมีที่เกิดจากพระจุฬามณีจะมีแสงสว่างไม่มากเท่าไร ความสวยงามความประณีตก็แตกต่างกัน ส่วนในภูมิสูง แสงสว่างที่มาจากพระจุฬามณี กล่าวคือแก้วมณีที่เป็นยอดของพระเจดีย์นั้นมีความสว่างมาก และโดยธรรมดาแสงสว่างที่มีในภูมิของโอปปาติกะแต่ละภูมิ ส่วนใหญ่ก็มาจากพระจุฬามณีเจดีย์
มโนคือวิญญาณเป็นรากฐานของสิ่งทั้งหลาย วิญญาณประเสริฐกว่าสิ่งทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายสำเร็จมาแต่วิญญาณ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกของโอปปาติกะที่ว่าเกิดจากวิญญาณนั้น มองเห็นได้ง่าย และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ที่ว่าเกิดจากวิญญาณมองเห็นได้ยาก ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาลึกซึ้งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะรู้ความจริงในเรื่องเหล่านี้ได้ ใครมีสภาพแห่งจิตใจอย่างไร อยู่ในระดับไหน ก็จะไปเกิดอยู่ร่วมกันในภูมิที่เหมาะสมกับจิตใจของตน สิ่งแวดล้อมในโลกของโอปปาติกะ ไม่ได้เกิดขึ้นจากอำนาจจิตของคน ๆ เดียว หรือของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เกิดจากอำนาจจิตโดยส่วนรวมของผู้ที่อยู่ในภูมินั้น ๆ
โอปปาติกะทั้งหลายที่อยู่ในภูมิต่ำ ไม่สามารถแม้กระทั่งจะสร้างอาหารด้วยอำนาจจิตของเขา ต้องอาศัยญาติพี่น้องทำบุญไปให้ ทั้ง ๆ ที่อาหารที่เกิดขึ้นจากผู้อื่นทำบุญไปให้นั้น ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจจิตของตนเอง แต่ก็ไปมีความสัมพันธ์กับอำนาจจิตของคนที่อยู่ในโลกมนุษย์ แต่โอปปาติกะที่อยู่ในภูมิสูง ซึ่งเป็นภูมิของคนที่ได้สร้างความดีเอาไว้มากนั้น สามารถที่จะสร้างอาหารและเสื้อผ้าตลอดถึงสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้ด้วยอำนาจจิต
ของเขา
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
" ขณะที่จิตสงบอยู่ย่อมปล่อยอารมณ์ที่เคยรบกวนต่าง ๆ เสียได้ เหลือแต่ความรู้ ความสว่างประจำใจ และความสุขอันเกิดจาก ความสงบตามขั้นของใจเท่านั้น ไม่มีสองกับสิ่งอื่นใด เพราะว่า จิตปราศจากอารมณ์ และเป็นตนของตนอยู่โดยลำพัง แม้กิเลส ส่วนละเอียดยังมีอยู่ภายในก็ไม่แสดงตัว ใจที่ปราศจากอารมณ์ มีความสงบตัวอยู่โดยลำพังนานเพียงไร ก็ย่อมจะแสดงความสุข ความอัศจรรย์ ความสำคัญ ความมีคุณค่า ให้เจ้าของได้ชมนาน และมากเพียงนั้น "
กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี
วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖
นาม บัว โลหิตดี
เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์
เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง
เสาะหา..อาจารย์ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ
ยืนยัน...ชาตินี้ ชาติหน้า อดีตชาติ มีจริง สภาวะธรรมในใจของท่านขณะนั้น ท่านเคยเล่าให้พระภิกษุในวัดป่าบ้านตาดฟังว่า "เกิดความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตน และเกิดความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า พระสาวกอรหันต์ที่ท่านหลุดพ้นไปแล้ว ท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมาอย่างนี้ แต่คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้าย ได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว..."
สมณศักดิ์ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ
Source
TIPS & TRICKS
ปฏิบัติอย่างไร เมื่อตรวจพบว่ามีองค์เทพ
๑ . งดหรือห้ามรับประทานเนื้อวัวควายตลอดชีวิต เมื่อท่านต้องการบูชาเทพ ควรตั้งคำถามว่า ท่านมีจุดประสงค์ใดดังนี้
๑. อยากเป็นร่างทรง
๒. อยากหายอาการเจ็บไข้
๓. อยากลบกรรมลิขิต โดยคิดว่าคนอื่นจะมองไม่เห็นกรรมนั้น
๔. อยากรวย
๕. อยากช่วยคน
๖ อยากมีเครื่องยึดเหนี่ยวให้เป็นคนดี
อาจารย์จึงอยากถามว่ามีข้อไหนบ้าง ที่ท่านประสงค์จะกระทำโดยมีศรัทธาเป็นที่ตั้งครับ
๒ . ห้ามรับประทานเครื่องเซ่นบวงสรวงของคนอื่น (เครื่องเซ่นบวงสรวง ของตัวเอง สามารถนำมารับประทานได้ครับ ของเซ่นไหว้บรรพบุรุษ หรือผีไม่มีญาติควรงดครับ เครื่องเซ่นที่ปักธูปดอกเดียว ควรงดครับ)
๓ . ห้ามรับประทานอาหารหรือของกินต่างๆในงานศพงานแต่งหากจำเป็นต้องไป ให้จุดธูปกลางแจ้ง ๑๖ ดอกบอกกล่าวขออนุญาติต่อองค์เทพ ที่ว่าไม่ควรกินอาหารที่งานศพ ด้วยเหตุว่า
๑. ไม่ทราบว่าสะอาดหรือไม่
๒. ถ้าไปงานแล้วอยู่ไม่กี่ชั่วโมง ให้ทานอาหารจากบ้านไปครับ
๓. ถ้าอยู่ช่วยงานทั้งวัน เวลาจะกินให้ตักไปกินนอกศาลาครับ ให้จุดธูปบอกกล่าวต่อเทพเทวาหรือพนมมือตั้งจิตอธิฐาน ว่ามีเหตุจำเป็นเพราะผู้ที่ล่วงลับเป็นญาติผู้ใหญ่ จำต้องร่วมงานและช่วยงานศพให้ลุล่วงด้วยดี เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา
๔ . สวดมนต์เป็นประจำ ชีวิตจะรุ่งเรือง
Continue..
๕.๒มีคุณสมบัติของคนมีองค์เทพชัดเจน นับว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติแบบผู้มีองค์เทพอยู่แล้ว บางท่านสับสนหาจุดยืนมิได้ ด้วยอิทธิพลของดวงดาวบังคับ เป็นผู้ที่หาอาจารย์ของตนเองได้ยากครับ เป็นผู้คงแก่เรียนหรือชอบศึกษาหรือเสาะแสวงหาหรือชอบลองของ เพื่อหวังว่าวันหนึ่งจะพบผู้ที่สมควรแก่การมอบตัวเป็นศิษย์ หากพบเมื่อใดทางสายเทพของเขาผู้นั้นจึงสมบูรณ์ สำหรับท่านที่เข้าข่ายกฏข้อนี้ ส่วนมากเป็นชะตาสวรรค์กำหนดมักเป็นมากกว่าร่างทรงทั่วๆไปครับ
๖.การมีองค์เทพแบบอวตาร(ลักษณะพิเศษ) เป็นผู้ที่มีองค์เทพสถิตย์อยู่เหนือเกล้า (องค์เทพท่านจะคงอยู่ในใจของเขาผู้นั้นเพราะเขาผู้นั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาอยู่แล้ว) เป็นผู้มีบุญเก่าหรือสั่งสมอภิญญามา มักไม่เข้ามาเกี่ยวกับการเปิดตำหนักแต่กลับไปเจริญสายกรรมฐาน วิปัสสนา บางท่านก็บวชเป็นพระเดินทางสายพุทธตามรอยพระพุทธองค์ จึงเห็นได้ว่าทางสายเทพมิได้แยกออกจากทางสายพุทธเลยสามารถปฏิบัติไปได้พร้อมๆกันครับสรุปในรูปแบบการตอบทั้ง๖ข้อ คงทำความเข้าใจให้ท่านได้ในระดับหนึ่ง สำหรับข้อ๒-๕ ทุกท่านสามารถ เปิดเป็นเจ้าตำหนักได้ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดปลีกย่อยในเนื้อดวงประการสำคัญประการหนึ่ง เท่าที่พบมามีครับบางตำหนักที่หมอยา เองก็ยังยอมรับในองค์เทพเทวาของเจ้าตำหนักผู้นั้นครับว่าเปี่ยมด้วยเมตา หรือมีบารมีสูง หรือมีทั้งเมตตาบารมีครับแผ่นดินนี้กว้างใหญ่ เรื่องร่างทรงที่มีบารมีย่อมมีแน่นอนครับสุดท้ายนี้ แม้ท่านทั้งหลายที่มีร่างทรงองค์เทพ อย่างไรเสียเราก็เป็นพุทศาสนิกชน การทำบุญไหว้พระ การทำนุบำรุงศาสนาสวดมนต์ และถือศีลห้า ให้บกพร่องน้อยที่สุด จึงนับว่าประเสริฐแล ทุกอย่างที่ทำเพื่อความสบายใจแลเป็นสิริมงคล อย่าได้หลงในอิทธิฤทธิ์ จงกระทำโดยใจศรัทธาเป็นหลัก.....เรื่องที่นำเสนอในบทความนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โบราณว่าไว้ ฟังหูไว้หู ไม่เชื่อก็ขออย่าถือโทษโกรธเคืองตำหนิติเตียน..ให้เป็นที่เสียน้ำใจกันครับ.......
ความหมายของการจุดธูป
ธูป 1 ดอกเป็นเรื่องของการเน้น หรือเจาะจง ในเรื่องที่เกี่ยวกับผีบ้านผีเรือน ไหว้ศพคนตาย เจ้าที่เจ้าวิญญาณภาคพื้น เช่น การจุดไหว้เจ้าที่ หรือผีบ้านผีเรือน
ธูป 2ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ และการ ปักธูปบนอาหารไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 3ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชา พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ไหว้มหาเทพ พระศิวะพระนารายณ์ พระพรหม
ธูป 4ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 5ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชา พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ไหว้ ร.5 ไหว้ท้าวจตุโลกบาล ตี่จู้เอี้ยศาลตายาย คุณบิดา คุณมารดาและคุณครูบาอาจารย์
ธูป 6ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ กำลังไฟ(คนที่เกิวันอาทิตย์) ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา ไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 7ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ (ศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่)ครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตแล้ว ไหว้พระภูมิไชยศรี ไหว้พระอาทิตย์
ธูป 8ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเสริมดวง ไหว้พระราหูไหว้เทพทุกๆองค์
ธูป 9ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสักการะบูชาเทพ เจ้าป่าเจ้าเขาไหว้ศาลท้าวมหาพรหมให้เจริญก้าวหน้าคนจีนนิยมครับ หรืออรุกขะเทวดาศาลพระภูมิศาลเทพ
ธูป 10ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไหว้ศาลท้าวมหาพรหมให้สามารถเริ่มหรือกำลังหางานให้ตัวเองคนจีนนิยมครับ
ธูป 11ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทวดาชั้นสูงไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 12ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไหว้เจ้าแม่กวนอิม
ธูป 13ดอกไม่นิยมหรือใช้จุดไหว้เจ้าแม่กวนอิม.ในเดือน 12
ธูป 14ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบูชาคุณพระสงฆ์ เช่น การจุดบูชาสักการะรูปปั้นพระสงฆ์ไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 15เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 16ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทพชั้นสูง เช่น บูชาพระพรหม ฯลฯ ใช้บวงสรวงบูชาเทพบูชาครู พิธีกลางแจ้งเชิญ เทพยดาในภูมฺต่างๆใน 16ชั้นฟ้า ธูป 17ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 18ดอกไม่นิยมจุด
ธูป 19ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจุดบูชาครู และการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 20ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 21ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระแม่ธรณี (ใช้ในพิธีกรรมเบิกพระแม่ธรณี) และการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป31ดอกคือการไหว้ 16ชั้นฟ้า 15ชั้นดินครับ
ธูป32ดอกคือการไหว้ 16ชั้นฟ้า 15ชั้นดินครับและ 1โลกมนุษยครับ
ธูป36ดอกคือการไหว้ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อองค์เทพเทวาในกรณีที่คนผู้นั้นได้ทำหรือประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อองค์ เทพเทวาของคนผู้นั้นครับ
ธูป 38ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระธรรม
ธูป 39 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระแม่โพสพ
ธูป 56ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบูชาคุณพระพุทธเจ้า
ธูป 108 ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมสวดเสริมดวงชะตา
source
๑ . งดหรือห้ามรับประทานเนื้อวัวควายตลอดชีวิต เมื่อท่านต้องการบูชาเทพ ควรตั้งคำถามว่า ท่านมีจุดประสงค์ใดดังนี้
๑. อยากเป็นร่างทรง
๒. อยากหายอาการเจ็บไข้
๓. อยากลบกรรมลิขิต โดยคิดว่าคนอื่นจะมองไม่เห็นกรรมนั้น
๔. อยากรวย
๕. อยากช่วยคน
๖ อยากมีเครื่องยึดเหนี่ยวให้เป็นคนดี
อาจารย์จึงอยากถามว่ามีข้อไหนบ้าง ที่ท่านประสงค์จะกระทำโดยมีศรัทธาเป็นที่ตั้งครับ
๒ . ห้ามรับประทานเครื่องเซ่นบวงสรวงของคนอื่น (เครื่องเซ่นบวงสรวง ของตัวเอง สามารถนำมารับประทานได้ครับ ของเซ่นไหว้บรรพบุรุษ หรือผีไม่มีญาติควรงดครับ เครื่องเซ่นที่ปักธูปดอกเดียว ควรงดครับ)
๓ . ห้ามรับประทานอาหารหรือของกินต่างๆในงานศพงานแต่งหากจำเป็นต้องไป ให้จุดธูปกลางแจ้ง ๑๖ ดอกบอกกล่าวขออนุญาติต่อองค์เทพ ที่ว่าไม่ควรกินอาหารที่งานศพ ด้วยเหตุว่า
๑. ไม่ทราบว่าสะอาดหรือไม่
๒. ถ้าไปงานแล้วอยู่ไม่กี่ชั่วโมง ให้ทานอาหารจากบ้านไปครับ
๓. ถ้าอยู่ช่วยงานทั้งวัน เวลาจะกินให้ตักไปกินนอกศาลาครับ ให้จุดธูปบอกกล่าวต่อเทพเทวาหรือพนมมือตั้งจิตอธิฐาน ว่ามีเหตุจำเป็นเพราะผู้ที่ล่วงลับเป็นญาติผู้ใหญ่ จำต้องร่วมงานและช่วยงานศพให้ลุล่วงด้วยดี เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา
๔ . สวดมนต์เป็นประจำ ชีวิตจะรุ่งเรือง
Continue..
การมีองค์เทพชัดเจนแลแบบปฏิบัติ
Start..........๕.๒มีคุณสมบัติของคนมีองค์เทพชัดเจน นับว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติแบบผู้มีองค์เทพอยู่แล้ว บางท่านสับสนหาจุดยืนมิได้ ด้วยอิทธิพลของดวงดาวบังคับ เป็นผู้ที่หาอาจารย์ของตนเองได้ยากครับ เป็นผู้คงแก่เรียนหรือชอบศึกษาหรือเสาะแสวงหาหรือชอบลองของ เพื่อหวังว่าวันหนึ่งจะพบผู้ที่สมควรแก่การมอบตัวเป็นศิษย์ หากพบเมื่อใดทางสายเทพของเขาผู้นั้นจึงสมบูรณ์ สำหรับท่านที่เข้าข่ายกฏข้อนี้ ส่วนมากเป็นชะตาสวรรค์กำหนดมักเป็นมากกว่าร่างทรงทั่วๆไปครับ
๖.การมีองค์เทพแบบอวตาร(ลักษณะพิเศษ) เป็นผู้ที่มีองค์เทพสถิตย์อยู่เหนือเกล้า (องค์เทพท่านจะคงอยู่ในใจของเขาผู้นั้นเพราะเขาผู้นั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาอยู่แล้ว) เป็นผู้มีบุญเก่าหรือสั่งสมอภิญญามา มักไม่เข้ามาเกี่ยวกับการเปิดตำหนักแต่กลับไปเจริญสายกรรมฐาน วิปัสสนา บางท่านก็บวชเป็นพระเดินทางสายพุทธตามรอยพระพุทธองค์ จึงเห็นได้ว่าทางสายเทพมิได้แยกออกจากทางสายพุทธเลยสามารถปฏิบัติไปได้พร้อมๆกันครับสรุปในรูปแบบการตอบทั้ง๖ข้อ คงทำความเข้าใจให้ท่านได้ในระดับหนึ่ง สำหรับข้อ๒-๕ ทุกท่านสามารถ เปิดเป็นเจ้าตำหนักได้ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดปลีกย่อยในเนื้อดวงประการสำคัญประการหนึ่ง เท่าที่พบมามีครับบางตำหนักที่หมอยา เองก็ยังยอมรับในองค์เทพเทวาของเจ้าตำหนักผู้นั้นครับว่าเปี่ยมด้วยเมตา หรือมีบารมีสูง หรือมีทั้งเมตตาบารมีครับแผ่นดินนี้กว้างใหญ่ เรื่องร่างทรงที่มีบารมีย่อมมีแน่นอนครับสุดท้ายนี้ แม้ท่านทั้งหลายที่มีร่างทรงองค์เทพ อย่างไรเสียเราก็เป็นพุทศาสนิกชน การทำบุญไหว้พระ การทำนุบำรุงศาสนาสวดมนต์ และถือศีลห้า ให้บกพร่องน้อยที่สุด จึงนับว่าประเสริฐแล ทุกอย่างที่ทำเพื่อความสบายใจแลเป็นสิริมงคล อย่าได้หลงในอิทธิฤทธิ์ จงกระทำโดยใจศรัทธาเป็นหลัก.....เรื่องที่นำเสนอในบทความนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โบราณว่าไว้ ฟังหูไว้หู ไม่เชื่อก็ขออย่าถือโทษโกรธเคืองตำหนิติเตียน..ให้เป็นที่เสียน้ำใจกันครับ.......
ความหมายของการจุดธูป
ธูป 1 ดอกเป็นเรื่องของการเน้น หรือเจาะจง ในเรื่องที่เกี่ยวกับผีบ้านผีเรือน ไหว้ศพคนตาย เจ้าที่เจ้าวิญญาณภาคพื้น เช่น การจุดไหว้เจ้าที่ หรือผีบ้านผีเรือน
ธูป 2ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ และการ ปักธูปบนอาหารไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 3ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชา พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ไหว้มหาเทพ พระศิวะพระนารายณ์ พระพรหม
ธูป 4ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 5ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชา พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ไหว้ ร.5 ไหว้ท้าวจตุโลกบาล ตี่จู้เอี้ยศาลตายาย คุณบิดา คุณมารดาและคุณครูบาอาจารย์
ธูป 6ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ กำลังไฟ(คนที่เกิวันอาทิตย์) ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา ไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 7ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ (ศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่)ครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตแล้ว ไหว้พระภูมิไชยศรี ไหว้พระอาทิตย์
ธูป 8ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเสริมดวง ไหว้พระราหูไหว้เทพทุกๆองค์
ธูป 9ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสักการะบูชาเทพ เจ้าป่าเจ้าเขาไหว้ศาลท้าวมหาพรหมให้เจริญก้าวหน้าคนจีนนิยมครับ หรืออรุกขะเทวดาศาลพระภูมิศาลเทพ
ธูป 10ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไหว้ศาลท้าวมหาพรหมให้สามารถเริ่มหรือกำลังหางานให้ตัวเองคนจีนนิยมครับ
ธูป 11ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทวดาชั้นสูงไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 12ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไหว้เจ้าแม่กวนอิม
ธูป 13ดอกไม่นิยมหรือใช้จุดไหว้เจ้าแม่กวนอิม.ในเดือน 12
ธูป 14ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบูชาคุณพระสงฆ์ เช่น การจุดบูชาสักการะรูปปั้นพระสงฆ์ไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 15เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน
ธูป 16ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทพชั้นสูง เช่น บูชาพระพรหม ฯลฯ ใช้บวงสรวงบูชาเทพบูชาครู พิธีกลางแจ้งเชิญ เทพยดาในภูมฺต่างๆใน 16ชั้นฟ้า ธูป 17ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 18ดอกไม่นิยมจุด
ธูป 19ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจุดบูชาครู และการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 20ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป 21ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระแม่ธรณี (ใช้ในพิธีกรรมเบิกพระแม่ธรณี) และการสวดเสริมดวงชะตา
ธูป31ดอกคือการไหว้ 16ชั้นฟ้า 15ชั้นดินครับ
ธูป32ดอกคือการไหว้ 16ชั้นฟ้า 15ชั้นดินครับและ 1โลกมนุษยครับ
ธูป36ดอกคือการไหว้ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อองค์เทพเทวาในกรณีที่คนผู้นั้นได้ทำหรือประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อองค์ เทพเทวาของคนผู้นั้นครับ
ธูป 38ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระธรรม
ธูป 39 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระแม่โพสพ
ธูป 56ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบูชาคุณพระพุทธเจ้า
ธูป 108 ดอกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมสวดเสริมดวงชะตา
source
พระอาจารย์ สุมโน
เป็นระยะเวลา 30 กว่าปีแล้วที่พระอาจารย์ สุมโน ภิกขุ พระฝรั่ง อดีตชาวเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยสุขสบายในชีวิตฆราวาส แล้วหันเหตัวเองสู่เส้นทางแห่งจิตวิญญาณ เพื่อดำเนินชีวิตในวิถีทางที่สันโดษและเรียบง่าย ภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา
สิ่งที่ทำให้อดีตนักศึกษาด้านกฎหมายและนักธุรกิจด้านตีราคาที่ดินทั้งของรัฐและเอกชน ผู้เคยใช้ชีวิตระดับไฮคลาส เดินทางไปต่างประเทศด้วยเครื่องบินชั้นธุรกิจ (Business Class) พักแต่โรงแรมระดับห้าดาว และมีเงินเหลือเฟือพอที่จะเที่ยวรอบโลก ได้ตัดสินใจทิ้งชีวิตที่หลายคนพยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะไปให้ถึง เหตุเพราะเช้าวันหนึ่งเขาลืมตาตื่นขึ้นพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าชีวิตช่างน่าเบื่อ ไม่มีอะไรที่ทำให้ต้องตื่นเต้นอีกต่อไปแล้ว
พระอาจารย์ สุมโน ซึ่งอดีตเคยนับถือศาสนายิว บอกเล่าว่า รู้จักพระพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อตอนที่กำลังศึกษา อยู่ในชั้นมัธยมปลาย ด้วยความที่มีนิสัยเป็นคนชอบอ่านหนังสือและแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งจึงได้ไปเจอหนังสือบางเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาวางอยู่บนโต๊ะในห้องสมุด
แรกเริ่มพระอาจารย์ให้ความสนใจเรื่องการนำหลักการฝึกสมาธิของทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตัวเองมากกว่า ขณะเดียวกันก็ใช้เวลาศึกษาศาสนาหลายศาสนาและหลายนิกาย โดยเคยเข้าคอร์สที่มีการอบรมด้านพระพุทธศาสนาอยู่หลายคอร์ส และใช้เวลาปลีกวิเวกอยู่แต่ในห้องโดยไม่ไปไหนเลย เป็นเวลานาน 2-3 ปี
ในวัย 32 ปี เมื่อได้ทิ้งชีวิตการเป็นนักธุรกิจแล้ว และเริ่มมีใจลึกซึ้งในพระพุทธศาสนา พระอาจารย์เห็นว่า การฝึกสมาธิอย่างเดียวช่วยอะไรได้น้อยมาก จึงมีความสนใจ อยากจะศึกษาพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น แต่เวลานั้นยังไม่ได้มีความคิดที่จะบวช
ช่วงเวลาที่ท่านกำลังจะเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียนั้น ระหว่างทางได้ไปแวะที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพราะเพื่อนของพระอาจารย์ได้แนะนำให้รู้จักวัดแห่งหนึ่งที่นี่ ซึ่งเมื่อสมัยที่ท่านไปเยือนครั้งแรกนั้นยังไม่ได้เป็นวัด แต่ต่อมาได้กลายมาเป็น วัดจิตตวิเวก (วัดป่าสาขาวัดป่าหนองป่าพงแห่งแรกในประเทศอังกฤษ) ที่ช่วงเวลานั้นมี พระสุเมธาจารย์ หรือท่านสุเมโธภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เมื่อเริ่มแรกตั้ง วัดในพ.ศ. 2522
พระอาจารย์ยังจำได้ว่า ทุกๆเย็น จะต้องนั่งรถลีมูซีนคันหรู พื่อไปสวดมนต์ที่วัด ก่อนจะตัดสินใจนุ่งขาวห่มขาวอยู่นานถึงสามปี จึงทำให้ความตั้งใจที่จะไปอินเดียในครั้งนั้นเป็นอันต้องล้มเลิก และในที่สุดจึงตัดสินใจบวชเมื่ออายุได้ 35 ปี
นอกจากวัดจิตตวิเวก พระอาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัดอีกแห่ง คือ วัดอมราวดี แต่ด้วยสเกลที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาในการสร้างนาน จึงไม่อยากใช้เวลาให้หมดไปกับการเป็นช่าง แต่อยากศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามากกว่า
วันหนึ่งเมื่อเดินทางสู่ประเทศไทย ทำให้พระอาจารย์มีได้มีโอกาสแวะเวียนไปกราบไหว้ และเรียนรู้ธรรมะจากพระชื่อดังหลายรูปในประเทศไทย อาทิ ท่านพุทธทาสภิกขุ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และ หลวงพ่อชา สุภัทโท
โดยเฉพาะหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่พระอาจารย์รู้สึกเลื่อมใสศรัทธามากเป็นพิเศษอยู่แล้ว เพราะเคยบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดสาขาของท่านที่อังกฤษ พระอาจารย์จึงไม่รีรอที่จะเดินทางสู่ภาคอีสาน ไปยังที่พำนักของหลวงพ่อชา เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์
สิ่งที่พระอาจารย์ได้เรียนรู้จากหลวงพ่อชาและรู้สึกประทับใจคือ
“ในทัศนะของหลวงพ่อ พระอาจารย์ชาเป็นพระที่มีจิตบริสุทธิ์มาก และสามารถระลึกรู้ในสิ่งต่างๆได้โดยไม่ต้องคิด ทำให้หลวงพ่อรู้สึกว่าทึ่ง
มันจะมีคำว่าดี ถูกต้อง และความเหมาะสมใช่ไหม เวลาที่เราต้องเผชิญกับอะไรสักอย่าง เรามักจะคิดก่อนว่าต้องทำอย่างไรดี ทำอย่างไรถึงจะถูก พอเป็นอย่างนั้นมันจะเกิดการคิด เพราะเราต้องคิดถึงว่า ค่านิยม กาลเทศะ กับบุคคลเหล่านี้เราต้องทำอย่างไร พอมันเกิดการคิด มันต้องคำนึงถึงอดีต ไม่ใช่ปัจจุบันขณะแล้ว เราจึงคิดตัดสิน ว่าเราต้องทำอย่างไรจากสิ่งที่เราเคยได้ยินเคยได้เห็น แต่พระอาจารย์ชาท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น การแก้ปัญหาของท่านเป็นการรู้จากปัจจุบันขณะและใช้คำว่าเหมาะสม”
เมื่อหลวงพ่อชามรณภาพ พระอาจารย์จึงออกธุดงค์ไปตามพื้นที่ต่างๆทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กระทั่งสุดท้ายได้เลือกพำนักอยู่ที่ สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา ในเขตพื้นที่เขาใหญ่ หลังจากที่เคยธุดงค์ไปพบเพียงแค่คืนเดียว ด้วยเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติ การเดินทางเข้าออกค่อนข้างลำบาก แม้แต่รถยนต์ ก็เข้าไม่ได้ จึงทำให้ปลอดความวุ่นวายจากสิ่งต่างๆ นับ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เวลาก็ได้ล่วงเลยมากว่า 20 ปีแล้ว
“ตอนนี้แก่แล้ว ไปที่ไหนไม่ได้แล้ว” พระอาจารย์บอก เล่าด้วยอารมณ์ขันเมื่อถูกตั้งคำถามว่าทำไมจึงเลิกธุดงค์และเลือกสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตาเป็นที่พำนักสุดท้ายของชีวิต
วัตรปฏิบัติของพระอาจารย์ที่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ทุกวันจะต้องตื่นจากจำวัดตอนตีสี่ เพื่อนั่งสมาธิ อ่านหนังสือ เดินจงกรม และฟังธรรมะ แม้แต่ในยามที่ย่ำเท้าไปบนถนนสายเล็กๆที่ทุรกันดารสู่หมู่บ้าน เพื่อไปบิณฑบาต ระหว่างทางก็ยังต้องอาศัยฟังธรรมบรรยายผ่านเครื่องเล่น MP3
ลูกศิษย์บางคนที่ใกล้ชิดพระอาจารย์บอกเล่าว่า
“แม้หลวงพ่อจะมีความลึกซึ้งในหลักธรรมจนสามารถนำมาสอนผู้อื่นได้แล้ว แต่หลวงพ่อก็ยังต้องฟังธรรมบรรยายจากพระรูปต่างๆ เพื่อนำมาสอนผู้คนอยู่ และน้อยครั้งมากที่หลวงพ่อจะเดินทางเข้าเมือง ขนาดหมอนิมนต์ให้มาทำฟัน ท่านก็ยังไม่มา”
แต่พระอาจารย์สุมโนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการเขียนหนังสือ เพราะเห็นว่า หน้าที่หนึ่งของพระคือการสืบทอดพระพุทธศาสนาและเผยแพร่หลักธรรมไปสู่ผู้คนให้มากที่สุด ที่ผ่านมานอกจากท่านจะมีผลงานแปลธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงพ่อชา สุภัทโท แล้ว ยังมีผลงานเขียนชื่อ ธรรมะจากพระภูเขา (Monk in the Mountain) จิตที่สว่างไสว (The Brightened Mind) และ พบลิงแค่ครึ่งทาง (Meeting the Monkey Halfway) โดยเป้าหมายที่เหมือนกันของผลงานเขียนทั้งสามเล่มคือ ต้องการสอนให้ผู้คนรู้จักการเจริญสติ รู้จักการใช้ปัญญา เพราะถ้าคนเราไม่มีปัญญา มีแต่ตัวตนเกิดขึ้น ก็จะเกิดความเห็นแก่ตัว
ส่วนเหตุที่ควรต้อง “พบลิงแค่ครึ่งทาง” ผลงานเขียนเล่มล่าสุดของพระอาจารย์ ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย อานุภาพ ทัดพิทักษ์กุล และจัดพิมพ์โดย บริษัท ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด ได้บอกเอาไว้ว่า
ในปรัชญาธรรมอันเก่าแก่ของเอเชียตะวันออก ลิงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของจิตที่มีลักษณะไม่อยู่นิ่ง ยุกยิก คอยกระโดดจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง ไม่เชื่อฟัง ผันแปรเปลี่ยนแปลงง่าย และด้วย “จิตที่เหมือนลิง” นี้ แนวทางการฝึกฝนจิตของโลกตะวันออก อาทิ การปฏิบัติกรรมฐาน โยคะ และการสวดท่องมนต์ ก็เป็นวิธีการต่างๆที่พยายาม จัดการกับจิตที่ซุกซน
“ครึ่งทาง” หมายถึงอุบายอันชาญฉลาดในการบริหารจิต เป็นวิธีที่ไม่ตึงหรือแข็งกระด้างจนเกินไป และก็ไม่หย่อนยานจนเกินไป “ครึ่งทาง” เป็นทัศนคติที่ตั้งอยู่บนหลักการของความสมดุลเป็นกลาง ไม่ถูกกระทบโดยอาการไม่อยู่นิ่งของจิตที่กระโดดไปกระโดดมา
“การพบ” แสดงออกถึงความอุตสาหะที่จะบรรลุเป้าหมาย มันหมายถึงความตั้งใจและความกระตือรือร้นในการทำจิตซึ่งเป็นสิ่งที่สงบได้ยาก ให้เกิดความตั้งมั่นและเป็นกลาง และด้วยความพยายามที่มุ่งมั่นนี้ ประกอบกับความพากเพียร ซื่อตรง ภายใต้การกำกับดูแลของปัญญา ทำให้เราสามารถเข้าถึงการเจริญในธรรมที่นำไปสู่หนทางอันถูกต้อง เพื่อที่เราจะได้ “พบลิงที่ครึ่งทาง” นั่นเอง
ในวันที่พระอาจารย์สุมโน ภิกขุ เดินทางออกจากสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา เพื่อมาบรรยายธรรมและเปิดตัวผลงานเขียน “พบลิงแค่ครึ่งทาง” ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ หลังจากที่ละทิ้งความสุขทางโลกมา 30 กว่าปี พระอาจารย์ซึ่งตอนนี้พูดภาษาไทยภาคกลางได้มากแล้ว (แต่เว้าอีสานได้ชัดกว่า) ได้บอกถึงความแท้จริงในทัศนะของพระอาจารย์ให้ผู้คนได้ฟังว่า
“ถ้าไม่มีความอยาก จะได้รับความสุขทันทีเลย”
แล้วเราจะระงับซึ่งความอยาก ด้วยวิธีการอย่างไรบ้าง ? พระอาจารย์ได้กล่าวต่อไปว่า
“ให้รู้ว่าความอยากมีแต่ความทุกข์ มากกว่าความสุข เพราะถ้าเรามีความอยาก เราก็ต้องไปดิ้นรนไปหาไปทำมา ตอนที่เรากำลังหากำลังทำอยู่ เรามีความสุข อย่างเช่นการ สะสมเงิน เพราะอยากจะได้แหวนเพชรสักวง ตอนที่ใกล้จะได้มา เรารู้สึกดีใจ พอไปที่ร้านถอยมันมาได้ ความสุขก็จบแล้ว เพราะช่วงเวลาที่เราอยากได้มันหมดไปแล้ว ทีนี้ก็จะดิ้นรนไปอยากได้อย่างอื่นต่อ”
และเมื่อถูกถามว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีความอยาก มีแต่การปล่อยวาง โลกจะไม่หยุดพัฒนา หยุดการเจริญรุดหน้าหรืออย่างไร พระอาจารย์ตอบว่า
“เคยมีคนถามหลวงพ่อว่า ถ้าทุกคนบวชเป็นพระกันหมด โลกนี้จะพัฒนาไปอย่างไร หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องห่วง มีคนที่สมัครใจบวชเป็นพระ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน เหมือนกับที่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเป็นช่างเสริมสวย(หัวเราะ)
และในความเห็นของหลวงพ่อ โลกนี้ไม่ต้องเจริญ อีสานที่หลวงพ่อเคยอยู่ มีคนบอกว่าความเจริญเป็นสิ่งดี โอ้.. อยากให้เมืองนี้เจริญ วารินชำราบเจริญ อุบลฯ เจริญ แต่หลวงพ่อคิดว่า ความเจริญไม่ใช่สิ่งดีเสมอไป เพราะถ้าเจริญแบบไม่มีปัญญาก็จะมีปัญหามากขึ้น อย่างเมืองไทยเจริญขึ้น แต่ความสุขกลับน้อยลงตลอด ไม่เหมือนประเทศภูฏาน ประเทศเขาไม่เจริญ แต่มีความสุข”
แม้พระอาจารย์จะเป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวต่างชาติจากประเทศตะวันตก ที่เดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศตะวันออก เรียนรู้และศึกษาจิตวิญญาณตะวันออก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา แต่พระอาจารย์ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า ตนเองเป็นหนึ่งในคนตะวันตกจำนวนมากที่หันมาสนใจจิตวิญญาณตะวันออก เพราะอาจจะเป็นหนึ่งในคนจำนวนน้อยก็ได้ หรือแม้แต่เวลานี้ก็ตาม ถามว่าคนตะวันตกสนใจจิตวิญญาณตะวันออกมากขึ้นหรือไม่ พระอาจารย์ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศตะวันตกมานานแล้ว
“หลวงพ่อไม่ได้อยู่ในประเทศตะวันตกมาสามสิบกว่าปีแล้ว หลวงพ่อรู้แต่ว่าเมื่อก่อนคนตะวันตกอยากมาเมืองไทยเพราะสนใจในประเพณีวัฒนธรรม เป็นแบ็คแพ็คเกอร์มาเที่ยว หรือนั่งเครื่องบินไปเที่ยวทะเล เที่ยวเกาะสมุยโน่น แต่ไม่ค่อยมีใครมาวัด มาอีสาน มีแต่มาเอาอย่างเดียว ไม่มีใครอยากให้อะไร”
หลายปีที่ผ่านมา อาจทำให้พระอาจารย์รู้จักประเทศไทย และเห็นความเป็นไปของประเทศไทยในหลายๆด้าน แต่พระอาจารย์ก็ออกตัวว่า ไม่อยากจะวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยหรือคนไทยมากเท่าใดนัก มีเพียงบางสิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นห่วงคนไทยคือ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังตกอยู่ในวังวนของความอยากและการโฆษณา ชวนเชื่อ ที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้ยังไม่พอ และยังไม่ดีพอเสียที
“ทุกคนอยากมีรถคันใหม่ อยากมีโทรศัพท์ อยากมีโน่นอยากมีนี่ มีความอยากไปในทางโลกเสียมากกว่า และการโฆษณาก็ทำให้พวกเขาคิดว่าชีวิตฉันยังไม่พอ และรู้สึกว่าฉันยังไม่ดีพอ ฉันต้องรวยให้มากกว่านี้ หรือฉันต้องสวย ต้องขาวให้มากกว่านี้”
ปี พ.ศ.2553 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ประเทศไทยต้องประสบ กับปัญหาภัยธรรมชาติเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเพราะมนุษย์นี่เองที่เป็นฝ่ายเบียดเบียนธรรมชาติ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะวิธีที่จะช่วยให้เราเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุดว่า
“ต้องรักษาศีลห้าก่อน เพราะถ้าไม่รักษาศีลห้า เราก็จะเป็นฝ่ายเบียดเบียนธรรมชาติ ปัญหาที่อยากแก้ก็จะไม่สามารถแก้ได้ และอยากให้ทุกคนมีสมาธิ เพราะสิ่งเหล่านี้มันจะทำให้จิตใจของเราสบาย มีความอยากน้อยลง มีสติ แล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้น
ถ้าเราไม่มีปัญญา เราก็จะไม่เข้าใจอดีต และทำในสิ่งที่ ผิดพลาดเหมือนเดิมไปตลอด เหมือนเราเคยเสียใจ เพราะอกหักจากผู้ชายคนนี้ ถ้าเราไม่ใช้ปัญญาทำความเข้าใจว่าทำไม เราก็จะอกหักได้อีกเรื่อยๆ ดังนั้น ปัญญาช่วยให้เรา สามารถพิจารณาได้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
จริงๆแล้วจิตเดิมของมนุษย์นั้นประภัสสร นั่นคือบริสุทธิ์ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่เพราะว่าจิตของเรารับอะไรเข้ามาเยอะ กิเลสมันเลยเข้ามาทำให้จิตใจเราขุ่นมัว เราก็เลยไม่มีปัญญาพอที่จะมองเห็นเหตุของปัญหา แต่ไปหลงและยึดเอาค่านิยมภายนอกมากกว่า ภัยธรรมชาติ ที่มันเกิด มันเป็นเพราะความอยากของเราที่มันไปเป็นตัวเบียดเบียนธรรมชาติ ถ้าเราไม่อยากเบียดเบียนธรรมชาติ เราต้องถามตัวเราเองก่อนว่า เราพร้อมที่จะเสีย สละไหม เช่น ถ้าเราไม่มีโรงงานนิวเคลียร์ เราก็จะไม่มีไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงานนิวเคลียร์มาใช้นะ
ทุกวันนี้เราพึ่งพาไฟฟ้าเพราะอะไร เพราะเราต้องการความสะดวกสบาย เวลาเราเบื่อ แทนที่เราจะนั่งสมาธิ เราต้องเปิดไฟ ดูทีวี หรือ อ่านหนังสือ ตอบสนองตัวเองด้วย สิ่งบันเทิง แต่ถ้าเราพยายามอยู่กับตัวเองให้ได้บ้าง บางครั้ง สิ่งบันเทิงเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เมื่อเราไม่ได้เปิดไฟ ใช้ มันน้อยลง เราก็จะเบียดเบียนธรรมชาติน้อยลงไปด้วย”
ดังนั้นพรปีใหม่ที่พระอาจารย์อยากมอบคนไทย ไม่มีอะไรที่มากกว่าการลดความอยาก เพื่อความสุขที่แท้และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
“เพราะปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากตัวเราเอง”
Source
หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่เทพโลกอุดร
ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงค์ พงศาวดารลังกา (คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร ) พ.ศ. ๓๐๓ และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (วัดพริบพรีเดิม บันทึกอักษรเทวนาคี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลาวัดบัวคูบัว ต.คูบัว จ.ราชบุรี ) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ใน พ.ศ. ๒๓๕ ( ซึ่งระยะต่างกัน ๖๘ ปี พ.ศ. ๓๐๓-๒๓๕ ) พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ ทำการชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้รแล้วจึงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันตเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ โดยแบ่งเป็น ๙ คณะ คณะที่ ๘ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ ( พม่า มอญ เขมร ลาว รามัญ ญวน ไปจรดแหลมมลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งสิ้น )
คณะธรรมฑูตประกอบด้วย
๑. พระโสณเถระ
๒. พระอุตระเถระ
๓. พระฌานียะ
๔. พระภูริยะ
๕. พระมูนียะ
สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ สามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสก อดุลลยอำมาตย์ และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม ( นครศรีธรรมราช ) เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาตวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตร และได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีสยาม โดยถือแบบเหล่าพระสากิยานีซึ่งเป็นต้นของพระภิกษณี โดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ( อาคารสมา อนคาริย ปพพชชา ) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์ หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม
เมื่อพระเจ้าโลกละว้า (เจ้าผู้ครองแคว้น สุวรรณภูมิ ) รับสั่งให้มนขอมพิสณุขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธสีมา พ.ศ. ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
ขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระไตรปิฎกจบหลายองค์ แล้วจึงวางจึงวิธีสวด สาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชฌากันจริง ๆ ท่านให้มนขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบ สวดมนต์ ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาท่านได้วางวิธีกฐิน และธุดงค์ คือเที่ยวจารึกไปในเมืองต่าง ๆ
การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมติ พระพุทธรูปเป็นองค์สมมติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมติสงฆ์ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นพระธรรมจักรแทนพระธรรม กับทีทิค ( มิ-คะ) คือสัตว์ประเภทกวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมายในสมัยสุวรรณภูมิ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณเถระกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุสยาม ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร ๓ รูปอุบาสก อุบาสิกา ได้เรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตร แคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิวางรากฐานพระธรรมวินัยในพระบวรพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และนิพพานในปี พ.ศ. ๒๖๔
ตามหลักฐานบันทึกนี้จะเห็นได้ว่า กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ เป็นปัญหาว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระอุตรเถระ
เรื่องราวเกี่ยวกับบรมครูพระเทพโลกอุดรมีมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุทยา และรัตนโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนแต่ขาดการค้นคว้าอย่างจริงจัง รู้อยู่ในหมู่คนกลุ่มน้อย รู้ทางเจโตปริญาณบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (ปุสโสเส็ง ) และหลวงปู่คำคะนิง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า “ บรมครูพระเทพโลกอุดร คือพระอุตรเถระ” ผู้ที่เคยได้พบท่านได้ถามท่านว่า “ บรมครูพระเทพโลกอุดรท่านคือพระอุตรเถระใช่ไหม” ท่านไม่ปฎิเสธ
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ท่านมีอายุ ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้วท่านอยู่ได้อย่างไรกัน จึงมีความเชื่อแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านนิพพานไปนานแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพาน เพราะยังมีผู้พบเห็นท่านอยู่เสมอแม้กระทั่งทุกวันนี้
บรมครูพระเทพโลกอุดร เป็นพระภิกษุลี้ลับ เร้นลับ และมหัศจรรย์อเนกประการ ลี้ลับ เร้นลับไปหมดทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ชื่อของท่าน ที่อยู่อาศัยของท่าน และที่มาที่ไปของท่าน และที่มหัศจรรย์ก็คือ เรื่องราวของท่านทั้งหมด
บรมครูพระเทพโลกอุดรคือใคร เป็นคำถามที่หาคำตอบที่สมบูรณ์ยังไม่ได้ เพราะ
ท่านจะสอนลูกศิษย์เสมอว่า อดีต เป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ต้องนำมาคิด อนาคต เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรไปสนใจให้เสียเวลา ปัจจุบัน สำคัญที่สุดให้เร่งศึกษา เริ่งปฎิบัติ
เมื่อถามถึงชื่อท่าน ท่านก็จะไม่ตอบ แต่จะบอกว่าอย่ามัวไปเสียเวลากับชื่อ ให้เร่งปฎิบัติ เป็นการตอกย้ำว่า ช่วงเวลาของชีวิตนี้น้อยนักไม่เพียงพอแก่การปฎิบัติอยู่แล้วอย่ามัวไปเสียเวลากับการไม่ปฎิบัติอยู่เลย
ชื่อที่เรียกท่านอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นชื่อสมมุติที่ท่านวังหน้า หรือสมเด็จวังหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) พระอนุชาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชการที่ ๑ แห่งปฐมบรมจักรรีวงศ์ เป็นผู้เรียกท่าน
บางท่านบอกว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรคือพระมหาโพธิศรีอุดม ซึ่งชื่อนี้พระมหากัสสปะ เป็นผู้ตั้งให้ บิดาท่านเป็นชาวเนปาล มารดาท่านเป็นชาวทิเบต
บางท่านบอกว่า ท่านคือ ครูบาบุญทา จันทวังโส เกิดเมื่อเดือน ๗ เหนือปี พ.ศ. ๑๘๓๔ บิดาชื่อ คำฝั้น เป็นคนศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มารดาชื่อ คำขยาย เป็นคนจังหวัดลำพูน มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๐ อายุ ๘๖ ปี อัฐิของท่านเก็บไว้ที่พระธาตุ (เจดีย์) วัดสันป่ายางหลวง อ. เมือง จ. ลำพูน
บางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่คำแพง คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า “ โอทาตัง”
ทางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่เดินหน คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า “อิเกสาโร อกาวิติ นโมพุทธายะ” เป็นคน อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี บิดาเป็นคนจีน มารดาเป็นคนไทย ท่านได้มรณภาพไปแล้ว เมื่อ ๖๐ กว่าปีก่อน สังขารของท่านอยู่ที่ถ่ำละว้า จ. กาญจนบุรี ในท่านั่งสมาธิ
ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านได้มรณภาพไปแล้ว เพราะไม่เชื่อว่าพระจะมีอายุยืนยาวหลายร้อยปี
แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุดยอดแห่งพระภิกษุในโลกนี้ยังมรณภาพ
เคยมีลูกศิษย์ของท่านถามท่านว่า ท่านอายุเท่าไรแล้ว ท่านได้กรุณาบอกลูกศิษย์ว่า ไม่ได้จำ จำได้แต่ว่า เมื่อตอนสร้างประปรางค์ลพบุรีนั้น ท่านได้มายืนดูเขาสร้างอยู่ ประกอบกับเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้เชื่อว่าท่านมรณภาพแล้ว มีการเชิญดวงวิญญาณท่านประทับทรง ซึ่งมีหลายสำนักทรงอยู่ มีทั้งทรงจริง ทรงไม่จริง เป็นเรื่องของศรัทธา ท่านผู้อ่านต้องพิสูจน์เอาเอง เห็นจริงแล้วจึงค่อยเชื่อ อันเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
กาลมสูตร
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา
๒. อย่าปลงเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
พิสูจน์ให้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเชื่อ
โอวาทหลวงปู่ใหญ่
การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออกและทุกอิริยบท เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต จงดูจิตเคลื่อไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละครด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้ ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวตจิต อย่ากลัวอารมณ์ เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต
ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์ คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์ และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง ) เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน
นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น ๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง
นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต
เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ นิมิตต่าง ๆ จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต หากทำได้อย่างนี้ จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน
ธรรมะบางข้อ ของหลวงปู่ใหญ่
จึงได้ธรรมะของท่าน สรุปย่อ ๆ บางส่วนได้ดังนี้
๑. ธรรมะของท่านต้องเกิดจากการปฎิบัติเท่านั้น
๒. ต้องมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
๓ อยากรู้ธรรมะหรือคำสอนของท่านให้ดูจิตตนเอง
๔. ให้รักผู้อื่นเหมือนที่รักตน
๕. ให้ทำตัวเหมือนน้ำ
- น้ำไปได้ทุกสถานที่ อยู่ในน้ำ ในอากาศ ในดิน
- น้ำอยู่ได้ทุกสภาวะ เป็นไอน้ำ เป็นน้ำ เป็นน้ำแข็ง
- น้ำให้ความชุ่มชื่น สดชื่น แก้กระหาย น้ำให้ชีวิต และทำลายชีวิต
- น้ำให้ความความเย็น ให้ความร้อน
- น้ำมีรูปร่างต่าง ๆ กันตามรูปร่างของภาชนะ
- น้ำใช้ล้างความสกปรกให้สะอาด ฯลฯ
นิพพานนัง ปรมัง สุขัง
“ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นิพพานไม่มีทุกข์
ไปถึงพระนิพพานแล้วไม่มีคำว่าตาย
ไม่มีคำว่าเคลื่อน ไม่มีคำว่าไปไหน
อยู่ที่พระนิพพาน เป็นสุข
ไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย”
พระคาถาบูชา หลวงปู่ใหญ่
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร
ปะฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คหาวะนัง
โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร
อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
โลกกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม
(แปล ขอน้อบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ครั้ง)
พระมหาเถระผู้เป็นอริยเจ้าองค์ เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา พุทธสาวกผู้ได้วิชชาสาม
มีเมตตาต่อคนทั้งหลายเป็นวิหารธรรม พระมหาเถระผู้ชำนาญในการสั่งสอน ดำรงชีวิตอมตะ ยินดีในการอยู่ป่าคือถ้ำ
พระมหาเถระองค์นั้นมีนามว่า โลกอุดร อันพวกเราบูชาอย่างยิ่ง เพราะอาศัยในคุณธรรมในองค์ท่าน ชักชวนพวกเราประกอบกุศลทั้งหลาย
ท่านให้ความรักพวกเราเหมือนบุตร แสดงมรรคและผลเท่านั้น พระธาตุของท่านส่องประกายดังเพชร
พระมหาเถระอุบัติขึ้นในโลก และทำประโยชน์โดยส่วนเดียวด้วย นับเป็นบุญลาภของพวกเรา อันหาประมาณมิได้
พวกเราจักกระทำตามคำสั่งสอนของท่านอันเป็นยอดสุภาษิต อนึ่งพระมหาเถระนามว่าโลกอุดร เป็นที่เคารพบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าจักกราบไหว้บูชาคุณของพระอุตตระตลอดกาลทุกเมื่อ ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาเถระ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
ฉบับย่อ
นะโม ๓ จบ
โลกกุตตะโร จะ มะหาเถโร
อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
เมตตาลาโภ นโสมิยะ
อะหังพุทโธฯ
ภาวนา ๓ จบ ๗ จบ หรือ ๙ จบ เช้า-เย็น ตื่นนอน และก่อนนอน
พระคาถาบูชา
นะโม ๓ จบ
อุตะเร อะริโยนามะ วันทิตาเตจะ อัมเหหิ
สักกาเรหิ จะปูชิตา เอเตสัง อานุภาเวนะ
สัพพะ โสตถี ภะวันตุโน
เมตตา ลาโภ นะโส มิยะ อะหะ พุทโธ
เมตตา ลาโภ นะโส ทะยะ อะหะ พุทโธ
นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะลาโภ
นิโสทะโย อะหะพุทโธ นะโมพุทธายะ
อิตติถะลาโภ เอกลาโภ ชะโยนิจจัง
พระคาถาบูชา
(อธิษฐานฤทธิ์) นะโม ๓ จบ
อะอุมะ พุทโธ นะโมพุทธายะ
นะมะพะธะ รัตตะนะตะยา นุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุเม
อิทธิ อิทธิ ฤทธิ ฤทธิ สิทธิ สิทธิ
ชัยยะ ชัยยะ ลาภะ ลาภะ
อุตระเรนะ
พุทธะ นิมิตตัง อิติ
ธัมมะ นิมิตตัง อิติ
สังฆะ นิมิตตัง อิติ
(ตั้งจิตอธิษฐานตามความปราถนา)
พระคาถาขอพบ
นะโม ๓ จบ
“ โย อะริโย มะหาเถโร นามะ อุตะโร
จะอำมะเหหิ ปูชิตา เอเตนะ ชะยะมังคะลัง”
ท่องวันละ ๓ จบก่อนนอนเป็นเวลา ๑๑ วันติดต่อกัน เมื่อครบแล้ว รุ่งเช้าวันที่ ๑๒ ให้จัดอาหารเจไปรอใส่บาตรที่สถานอันเหมาะสม เช่น หน้าบ้านของตัวเราก็ได้
ขอเรียนว่าอาจจะไม่พบเห็นทุกคน แต่ให้ทำใหม่ได้อีกใน ๖ เดือนต่อไป หากมีความนับถือ คือศรัทธาจริง ก็คงจะพบในครั้งใดครั้งหนึ่งแน่นอน คาถาบทนี้อย่างน้อย ก็เคยมีคนได้พบบรมครูพระเทพโลกอุดรมาแล้ว ก่อนจะท่องให้จัดเครื่องบูชาเสียก่อน คือ
๑. ธูป ๙ ดอก ๒. เทียน ๙ เล่ม ๓. ดอกไม้สีขาว ๙ ดอก ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเท่าฝ่ามือ ๙ ผืน / แผ่น ใส่พานหรือถาดไว้ในที่สูงหรือหน้าที่บูชาพระ ( จัดครั้งเดียวต่อพิธี ๑๑ วัน ที่ทำพิธี ๑๑ วัน ที่ทำพิธีแต่ละครั้ง ) จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร เพราะท่านไม่มาในร่างจริงเสมอไป ก็ขอให้สังเกตที่ข้อเท้า คือเท้ายาวผิดปกติ
บางคนก็ได้เห็นท่านในรูปตัวจริงก็มี บางคนเห็นเป็นพระหนุ่มรูปงาม งามเหนือมนุษย์ทั่วไป
ท่านบอกว่า ผู้ใดนับถือศรัทธาท่านจริง และเวลาภาวนาทำใจเหมือนเด็กแรกเกิดได้ ผู้นั้นได้พบกับท่านแน่นอน
พระคาถาบางบท
ยอดพระพุทธคุณสำหรับยุคกึ่งพุทธกาล
ท่านที่สวดพระคาถานี้ตั้งแต่ต้นจนจบคำอธิษฐานเป็นประจำ จะสามารถดำรงชีวิตผ่านพ้นภัยพิบัติต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้ ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ กราบพระ ๓ ครั้ง
อิติปิโส ธงชัย
นะโม ๓ จบ
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุขะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย
อนุตตะรัง ปุญญังเขตตัง โลกัสสาติ
อิติปิโสเต็ม
อิติ ปิโส ภะคะวา อะระหัง
อิติ ปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติ ปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติ ปิโส ภะคะวา สุขะโต
อิติ ปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
อิติ ปิโส ภะคะวา อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาริถิ
อิติ ปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง
อิติ ปิโส ภะคะวา พุทโธ ภะคะวาติ
มหาพรหมทั้ง 4
ปรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ คานา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเถนะ วิรุพหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโรเต มะหาราชา โถกะปาถา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ กุมมัฏฐา เทวา นาคา ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ตั้งจิตอธิษฐาน
ด้วยคุณธรรมอันสูงส่งประเสริฐสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกล้ากระผม/ดิฉันได้กล่าวสรรเสริญสวดอิปิโสธงชัย อิติปิโสเต็ม อัญเชิญท่านท้าวมหาพรหมทั้งสี่ทิศสี่พระองค์ดังที่พระองค์ ดังที่กล่าวสรรเสริฐด้วยจิตอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสมานี้ เกล้ากระผม/ดิฉันขอนอบน้อมสักการะคาราวะเทอดทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าเหนือเกล้าทุกอิริยาบถด้วยเทอญ
ดังกล่าวสรรเสริฐมานี้ด้วยความนอบน้อมของเกล้ากระผม/ดิฉันในขณะนี้มัน ขอจงโปรดประทานอำนวยพรให้เกล้ากระผม/ดิฉันให้ปราศจากอุปสรรค อันตราย ภัยพิบัติทั้งหลาย โรคาพยาธิทั้งหลาย ภัยจากเหล่าอมนุษย์ อลัชชี คุณไสย มนต์ดำอาถรรพ์ทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นมาทั้งในปันจุบันและอนาคตข้างหน้าจงอันตรธานสูญหายไปโดยสิ้นเชิงด้วยพลังเดชอำนาจบารมีแห่งคุณธรรม เพื่อจะได้มีชีวิตดำรงอยู่เพื่อจะได้ประกอบภารกิจที่เป็นอยู่ให้เจริญก้าวหน้ายืนยาวนาน เพื่อจะได้บำเพ็ญบุญกุศล เป็นการสนองตอบแทนผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้วให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศล และเพื่อจะได้บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามยืนยาวนาน
ดังที่กล่าวสรรเสริญมานี้นั้นขอจงโปรดประทานอำนวยพร พละกำลังเดช อำนาจบารมีแก่เกล้ากระผม/ดิฉันดังที่ตั้งประณิธานสัจจะอธิษฐานกล่าวสรรเสริญมา ณ บัดนี้ด้วยเทอญ และจะดำรินึกคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ขอให้ช่วยเกื้อกูลให้สำเร็จ อย่าได้มีขัดข้อง ขอจงมีแต่ความอุดมสมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่รู้จักความทุกข์ยากขัดสนทุกภพทุกชาติ
ขอให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลม ลึกซึ้ง คมคาย แก้ไขสถานการณ์ได้ทุกเมื่อดังที่ตั้งปณิธานกล่าวสรรเสริญมานี้ ขอเดชะอานุภาพอันสูงส่งประเสริญสุดโปรดประทานอำนวยพรให้เป็นพละกำลังเดช อำนาจ บารมี เป็นเกราะแก้วทั้งเก้าชั้นคุ้มภัยแก่เกล้ากระผม/ดิฉัน ณ บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปด้วยเทอญ
และบุญกุศลอีกส่วนหนึ่ง เกล้ากระผม/ดิฉันขอนอบน้อมอธิษฐานนำส่งให้แก่บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย บิดา มารดา พี่ ป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน ทุกยุค ทุกกาล และขออุทิศให้แก่บุรพกษัตราธิราชเจ้าทุก ๆ พระองค์ ตั้งแต่สร้างชาติไทยเป็นต้นมาาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ตลอดถึงพระมเหสีและทายาททุก ๆ พระองค์ และอุทิศ ให้แก่ท่านแม่ทัพนายกองทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่สูงสุดจนต่ำสุดทุกท่าน ทุกชั้น ทุกระดับ ทุกยุคทุกกาล ขออุทิศให้แก่พระสยามเทวาธิราช ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ (พระจันทร์ พระยม พระวรุณ พระกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ) พระชัยมงคลเจ้ากรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ เจ้าที่เจ้าทางทุกของแห่งในปัจจุบันสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกดวงจิตวิญญาณหากพระองค์ใดท่านใดขาดตกบกพร่องสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ขอให้ผลของกุศลที่เกล้ากระผม/ดิฉัน ได้ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศให้นี้ จะเป็นของทิพย์ให้แก่ทุก ๆ พระองค์ ทุก ๆ ท่านให้สมบูรณ์บริบูรณ์ตามที่จิตปรารถนาตลอดทั้งเสื้อผ้าอาหารจงครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ
และขอได้โปรดประทานพรให้เกล้ากระผม/ดิฉันมีอายุยืนยาวนาน ไม่รู้จักความทุกข์ยากขัดสนเพื่อจะได้ดำรงคงอยู่ เพื่อจะได้ใช้เวลาสร้างบุญ สร้างกุศล มหากุศล และอุทิศถวายเป็นสนองตอบแทนผู้มีพระคุณ และเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามยืนยาวนานสืบไป ไม่ว่าเกล้ากระผม/ดิฉันจะประกอบกิขการงานสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขอจงช่วยเกื้อหนุนอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้เหล่าอมนุษย์ อลัชชี คุณไสย มนต์ดำ อาถรรพ์และภัยพิบัติต่าง ๆ มาแผ้วพานเกล้ากระผม/ดิฉันได้เลย และผลของกุศลมหาศาลอีกส่วนหนึ่งจงเป็นกองการกุศล เป็นพื้นฐานบารมีทั้งปัจจุบันและอนาคตให้แก่เกล้ากระผม/ดิฉันจะเกิดภพใดชาติใด จงเป็นปัจจัยนำส่งให้พ้นทุกข์ไปทุกภพทุกชาติ จนถึงพระอนุตตะระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเทอญ
Source
วิธีการสร้างลูกบอลพลังจิต (ไซบอล)ตามวิธีของ Peebrain
1. กำหนดตำแหน่งว่า จะสร้างพลังที่ไหน เช่น ที่มือทั้งสองข้าง ที่ตาที่สามระหว่างคิ้ว หรือ ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่น เมืองจีน
ตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่จะนิยมเลือก หรือ นิยมฝึกกัน คือ ที่มือทั้งสองข้าง
การวางตำแหน่งมือที่นิยมทำกัน จะมี 3 แบบใหญ่ๆ ดังภาพ
คุณสามารถที่จะเลือกท่ามือของคุณเอง หรือ จะเลือกจากภาพทั้งสามดังกล่าวกได้ จากนั้นเราจะไปสุ่ขั้นที่สองกัน
ขั้นตอนที่สอง คือ การเลือกแหล่งกำเนิดพลังงาน
คุณสามารถเลือกแหล่งกำเนิดพลังงานจากที่ไหนก็ได้ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ โลก หรือ แม้แต่จากตัวคุณเอง
เพียงแต่ถ้าคุณเลือกแหล่งพลังงานจากตัวคุณเอง จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยเร็ว
หากคุณต้องการพลังงานที่มีความร้อน อาจเลือกแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์
หากคุณต้องการพลังงานที่มีความเย็น อาจเลือกแหล่งพลังงานจากดวงจันทร์
หากคุณไม่สนใจอุณหภูมิ อาจเลือกพลังงานจากโลก
สิ่งต่างๆเหล่านี้เพียงแค่ โดยใช้หลักการจากความนึกคิดเท่านั้น
ขั้นตอนที่สาม การดึงพลังงานจากต้นกำเนิดพลังงาน
ขั้นตอนการดึงพลังงานเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่คุณใช้ความนึกคิด กำหนดจิตสร้างมโนภาพว่า พลังงานกำลังไหลจากต้นกำเนิดพลังงานมาล้อมรอบตัวคุณ หรือ เข้ามาในตัวคุณ
บางคนอาจหลับตากำหนดภาพ บางคนอาจไม่หลับตา คุณอาจจะลองทั้งสองแบบคือทั้งหลับตาและไม่หลับตา แล้วดดูว่าแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด เช่น
คุณอาจหลับตานึกถึงภาพว่า
2. จากนั้นพลังงานจากศูนย์กลางโลกไหลออกมาที่ผิวโลก ผ่านผืนดินตรงมาที่เท้าของคุณ
3. พลังงาน ไหลเข้ามาที่ปลายเท้าคุณ และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางเท้า
วิธีการดึงพลังงานนั้น ไม่มีขีดจำกัด คุณสามารถจินตนาการตามที่คุณต้องการ เรามาลองดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันต่อไป เช่น
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานเสมือนมีช่องเสียบไฟฟ้า และตัวคุณเสมือนมีปลั๊กเสียบเข้าไป เหมือนการเสียบสายเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วดึงพลังงานจากแหล่งกำเนิดพลังงาน
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานอยู่เหนือตัวเรา แล้วพลังงานไหลลงมาเหมือนน้ำตก ไหลเข้าสู่ตัวเรา
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานอยู่เหนือตัวเรา คล้ายกับก้อนเมฆ แล้วเกิดแสงพุ่งออกมา เข้ามาสู่ตัวเรา
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานกำลังส่งพลังงานก้อนใหญ่ให้คุณ และคุณกินพลังงานนั้นเข้าไป
สรุปคือ คุณสามารถกำหนดภาพตามรูปแบบที่คุณถนัดและเหมาะสม ให้สามารถดึงพลังงานจากสิ่งนั้นได้ และได้รับพลังงานในรูปแบบต่อเนื่อง ซึ่งหากชำนาญอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หรือ หากยังไม่ชำนาญอาจใช้เวลาหลายนาทีเพื่อให้รู้สึกว่าได้รับพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่สี่ การสร้างบอลพลังจิต PSI ball
เรายังคงพลังงานจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง สร้างความรู้สึก ชักนำพลังงานที่เข้ามาสู่ร่างกายนั้น ให้ไปในตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เช่น ที่ระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยกำหนดภาพให้พลังงานนั้นรวมตัวกันเป็นก้อนกลม
พยายามใช้ระบบประสาทสัมผัสต่างๆประกอบกับภาพที่เราสร้างขึ้น เช่น รู้สึกถึงการไหลของพลังงานผ่านไปตามส่วนต่างๆของร่างกายไหลไปที่มือทั้งสองข้าง หรือ อาจจะสัมผัสถึงเสียง เป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการฝึกการรับสัมผัสของพลังงาน
ขั้นตอนที่ห้า คือ การเพิ่มพลังงานให้บอลพลังจิต
การเพิ่มพลังงานให้บอลพลังจิตนั้นมีสองวิธี คือ
1. การเพิ่มขนาดของบอลพลังจิต โดยยังคงความหนาแน่นเท่าเดิม
2. การเพิ่มความหนาแน่นของพลังงาน ( ขนาดเท่าเดิมแต่หนาแน่นขึ้น )
ทั้งสองวิธีนั้น สามารถทำได้โดยการกำหนดภาพตามปกติ คือ กำหนดภาพให้บอลพลังจิตขยายใหญ่ขึ้น หรือ กำหนดภาพให้บอลพลังจิตหนาแน่นขึ้น
เมื่อคุณทำมาถึงขั้นที่ห้า เท่ากับคุณได้สำเร็จขั้นต้นของการฝึกพลังจิตแบบหนึ่ง
Source
ตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่จะนิยมเลือก หรือ นิยมฝึกกัน คือ ที่มือทั้งสองข้าง
การวางตำแหน่งมือที่นิยมทำกัน จะมี 3 แบบใหญ่ๆ ดังภาพ
คุณสามารถที่จะเลือกท่ามือของคุณเอง หรือ จะเลือกจากภาพทั้งสามดังกล่าวกได้ จากนั้นเราจะไปสุ่ขั้นที่สองกัน
ขั้นตอนที่สอง คือ การเลือกแหล่งกำเนิดพลังงาน
คุณสามารถเลือกแหล่งกำเนิดพลังงานจากที่ไหนก็ได้ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ โลก หรือ แม้แต่จากตัวคุณเอง
เพียงแต่ถ้าคุณเลือกแหล่งพลังงานจากตัวคุณเอง จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยเร็ว
หากคุณต้องการพลังงานที่มีความร้อน อาจเลือกแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์
หากคุณต้องการพลังงานที่มีความเย็น อาจเลือกแหล่งพลังงานจากดวงจันทร์
หากคุณไม่สนใจอุณหภูมิ อาจเลือกพลังงานจากโลก
สิ่งต่างๆเหล่านี้เพียงแค่ โดยใช้หลักการจากความนึกคิดเท่านั้น
ขั้นตอนที่สาม การดึงพลังงานจากต้นกำเนิดพลังงาน
ขั้นตอนการดึงพลังงานเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่คุณใช้ความนึกคิด กำหนดจิตสร้างมโนภาพว่า พลังงานกำลังไหลจากต้นกำเนิดพลังงานมาล้อมรอบตัวคุณ หรือ เข้ามาในตัวคุณ
บางคนอาจหลับตากำหนดภาพ บางคนอาจไม่หลับตา คุณอาจจะลองทั้งสองแบบคือทั้งหลับตาและไม่หลับตา แล้วดดูว่าแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด เช่น
คุณอาจหลับตานึกถึงภาพว่า
1. คุณกำลังยืนอยู่บนโลก โลกกลมๆ มีศูนย์กลางพลังงานที่ตรงกลางโลก
2. จากนั้นพลังงานจากศูนย์กลางโลกไหลออกมาที่ผิวโลก ผ่านผืนดินตรงมาที่เท้าของคุณ
3. พลังงาน ไหลเข้ามาที่ปลายเท้าคุณ และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางเท้า
วิธีการดึงพลังงานนั้น ไม่มีขีดจำกัด คุณสามารถจินตนาการตามที่คุณต้องการ เรามาลองดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันต่อไป เช่น
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานเสมือนมีช่องเสียบไฟฟ้า และตัวคุณเสมือนมีปลั๊กเสียบเข้าไป เหมือนการเสียบสายเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วดึงพลังงานจากแหล่งกำเนิดพลังงาน
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานอยู่เหนือตัวเรา แล้วพลังงานไหลลงมาเหมือนน้ำตก ไหลเข้าสู่ตัวเรา
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานอยู่เหนือตัวเรา คล้ายกับก้อนเมฆ แล้วเกิดแสงพุ่งออกมา เข้ามาสู่ตัวเรา
* กำหนดภาพว่า แหล่งพลังงานกำลังส่งพลังงานก้อนใหญ่ให้คุณ และคุณกินพลังงานนั้นเข้าไป
สรุปคือ คุณสามารถกำหนดภาพตามรูปแบบที่คุณถนัดและเหมาะสม ให้สามารถดึงพลังงานจากสิ่งนั้นได้ และได้รับพลังงานในรูปแบบต่อเนื่อง ซึ่งหากชำนาญอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หรือ หากยังไม่ชำนาญอาจใช้เวลาหลายนาทีเพื่อให้รู้สึกว่าได้รับพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่สี่ การสร้างบอลพลังจิต PSI ball
เรายังคงพลังงานจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง สร้างความรู้สึก ชักนำพลังงานที่เข้ามาสู่ร่างกายนั้น ให้ไปในตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เช่น ที่ระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยกำหนดภาพให้พลังงานนั้นรวมตัวกันเป็นก้อนกลม
พยายามใช้ระบบประสาทสัมผัสต่างๆประกอบกับภาพที่เราสร้างขึ้น เช่น รู้สึกถึงการไหลของพลังงานผ่านไปตามส่วนต่างๆของร่างกายไหลไปที่มือทั้งสองข้าง หรือ อาจจะสัมผัสถึงเสียง เป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการฝึกการรับสัมผัสของพลังงาน
ขั้นตอนที่ห้า คือ การเพิ่มพลังงานให้บอลพลังจิต
การเพิ่มพลังงานให้บอลพลังจิตนั้นมีสองวิธี คือ
1. การเพิ่มขนาดของบอลพลังจิต โดยยังคงความหนาแน่นเท่าเดิม
2. การเพิ่มความหนาแน่นของพลังงาน ( ขนาดเท่าเดิมแต่หนาแน่นขึ้น )
ทั้งสองวิธีนั้น สามารถทำได้โดยการกำหนดภาพตามปกติ คือ กำหนดภาพให้บอลพลังจิตขยายใหญ่ขึ้น หรือ กำหนดภาพให้บอลพลังจิตหนาแน่นขึ้น
เมื่อคุณทำมาถึงขั้นที่ห้า เท่ากับคุณได้สำเร็จขั้นต้นของการฝึกพลังจิตแบบหนึ่ง
Source
หัวใจพระคาถา 108
หัวใจพระธรรม ๗ คัมภีร์ คือสังวิชาปุกะยะปะ
หัวใจพระสูตร คือ ทีมะสังอังขุ
หัวใจพระวินัย คืออาปามะจุปะ
หัวใจสัตตะโพชฌงค์ คือ สะธะวิปิปะสะอุ
หัวใจพระรัตนตรัย คืออิสะวาสุ
หัวใจพาหุง คือ พามานาอุกะสะนะทุ
หัวใจพระพุทธเจ้า คืออิกะวิติ
หัวใจปฏิสังขาโย คือ จิปิเสคิ
หัวใจพระไตรปิฎก คือสะระณะมะ
หัวใจยอดศีล คือ พุทธะสังมิ
หัวใจธรรมบท ( เปรต ) คือทุสะนะโส
หัวใจปถมัง คือ ทุสะมะนิ
หัวใจอิธะเจ คืออิทะคะมะ
หัวใจตรีนิสิงเห คือ สะชะฏะตรี
หัวใจสนธิ คืองะญะนะมะ
หัวใจแม่พระธรณี คือ เมกะมุอุ
หัวใจยะโตหัง คือนะหิโสตัง
หัวใจพระกุกกุสันโธ คือ นะมะกะยะ
หัวใจพระโกนาคมน์ คือนะมะกะตะ
หัวใจพระกัสสป คือ กะระมะถะ
หัวใจสังคะหะ คือ จิเจรุนิ
หัวใจนอโมคือ นะอุเออะ
หัวใจไฟ คือ เตชะสะติ
หัวใจลม คือ วายุละภะ
หัวใจบารมี คือผะเวสัจเจเอชิมะ
หัวใจน้ำ คือ อาปานุติ
หัวใจดิน คือปะถะวิยัง
หัวใจวิรูปักเข คือ เมตะสะระภูมู
หัวใจพระปริตร คือสะยะสะปะยะอะจะ
หัวใจพระนิพาน คือ สิวังพุทธัง
หัวใจยานี คือยะนิรัตนัง
หัวใจกรณีเมตตสูตร คือ เอตังสะติง
หัวใจวิปัสสนา คือวิระสะติ
หัวใจมงคลสูตร คือ เอตะมังคะลัง
หัวใจอายันตุโภนโต คือ อานิชะนิ
หัวใจมหาสมัย คือ กาละกัญธามหาภิสะมา
หัวใจเสฎฐัน คือเสพุเสวะเสตะอะเส
หัวใจปาฏิโมกข์ คือ เมอะมะอุ
หัวใจเพชรสี่ด้าน คืออะสิสัตติปะภัสมิง
หัวใจศีลสิบ คือ ปาสุอุชา
หัวใจอริยสัจ ๔ คือทุสะนิมะ
หัวใจธรรมจักร์ คือ ติติอุนิ
หัวใจนิพพานจักรี คืออิสะระมะสาพุเทวา
หัวใจทศชาติ คือ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว
หัวใจธาตุทั้ง ๔ คือนะมะพะทะ
หัวใจธาตุพระกรณีย์ คือ จะภะกะสะ
หัวใจพระกรณีย์ คือจะอะภะคะ
หัวใจปลายศีล คือ อิสะปะมิ
หัวใจกินนุสัตรมาโน คือกะนะนะมา
หัวใจพระยายักษ์ คือ ภะยะนะยะ
หวัใจภาณยักษ์ คือกะยะพะตัง
หัวใจอาวุธพระพุทธเจ้า คือ ปะสิสะ
หัวใจนะโม คือนะวะอัสสะ
หัวใจกะขะ คือ กะยะนะอัง
Source
หัวใจพระสูตร คือ ทีมะสังอังขุ
หัวใจพระวินัย คืออาปามะจุปะ
หัวใจสัตตะโพชฌงค์ คือ สะธะวิปิปะสะอุ
หัวใจพระรัตนตรัย คืออิสะวาสุ
หัวใจพาหุง คือ พามานาอุกะสะนะทุ
หัวใจพระพุทธเจ้า คืออิกะวิติ
หัวใจปฏิสังขาโย คือ จิปิเสคิ
หัวใจพระไตรปิฎก คือสะระณะมะ
หัวใจยอดศีล คือ พุทธะสังมิ
หัวใจธรรมบท ( เปรต ) คือทุสะนะโส
หัวใจปถมัง คือ ทุสะมะนิ
หัวใจอิธะเจ คืออิทะคะมะ
หัวใจตรีนิสิงเห คือ สะชะฏะตรี
หัวใจสนธิ คืองะญะนะมะ
หัวใจแม่พระธรณี คือ เมกะมุอุ
หัวใจยะโตหัง คือนะหิโสตัง
หัวใจพระกุกกุสันโธ คือ นะมะกะยะ
หัวใจพระโกนาคมน์ คือนะมะกะตะ
หัวใจพระกัสสป คือ กะระมะถะ
หัวใจสังคะหะ คือ จิเจรุนิ
หัวใจนอโมคือ นะอุเออะ
หัวใจไฟ คือ เตชะสะติ
หัวใจลม คือ วายุละภะ
หัวใจบารมี คือผะเวสัจเจเอชิมะ
หัวใจน้ำ คือ อาปานุติ
หัวใจดิน คือปะถะวิยัง
หัวใจวิรูปักเข คือ เมตะสะระภูมู
หัวใจพระปริตร คือสะยะสะปะยะอะจะ
หัวใจพระนิพาน คือ สิวังพุทธัง
หัวใจยานี คือยะนิรัตนัง
หัวใจกรณีเมตตสูตร คือ เอตังสะติง
หัวใจวิปัสสนา คือวิระสะติ
หัวใจมงคลสูตร คือ เอตะมังคะลัง
หัวใจอายันตุโภนโต คือ อานิชะนิ
หัวใจมหาสมัย คือ กาละกัญธามหาภิสะมา
หัวใจเสฎฐัน คือเสพุเสวะเสตะอะเส
หัวใจปาฏิโมกข์ คือ เมอะมะอุ
หัวใจเพชรสี่ด้าน คืออะสิสัตติปะภัสมิง
หัวใจศีลสิบ คือ ปาสุอุชา
หัวใจอริยสัจ ๔ คือทุสะนิมะ
หัวใจธรรมจักร์ คือ ติติอุนิ
หัวใจนิพพานจักรี คืออิสะระมะสาพุเทวา
หัวใจทศชาติ คือ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว
หัวใจธาตุทั้ง ๔ คือนะมะพะทะ
หัวใจธาตุพระกรณีย์ คือ จะภะกะสะ
หัวใจพระกรณีย์ คือจะอะภะคะ
หัวใจปลายศีล คือ อิสะปะมิ
หัวใจกินนุสัตรมาโน คือกะนะนะมา
หัวใจพระยายักษ์ คือ ภะยะนะยะ
หวัใจภาณยักษ์ คือกะยะพะตัง
หัวใจอาวุธพระพุทธเจ้า คือ ปะสิสะ
หัวใจนะโม คือนะวะอัสสะ
หัวใจกะขะ คือ กะยะนะอัง
Source
Subscribe to:
Posts (Atom)